Page 104 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 104

(๗) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)
                          กรมสอบสวนคดีพิเศษอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๕

                   ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๔๕ ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “DEPARTMENT
                   OF  SPECIAL  INVESTIGATION”  มีชื่อย่อว่า “DSI”  ซึ่งมีบุคลากรที่มีความรู้ความชํานาญในด้านต่างๆ
                   พัฒนารูปแบบการทํางานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นองค์กรหนึ่งซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ในการปฏิรูประบบ
                   ราชการ ทําให้ประชาชนและประเทศชาติได้รับความเป็นธรรมและประโยชน์สูงสุด โดยวิสัยทัศน์ พันธกิจ

                   เปูาประสงค์ และยุทธศาสตร์มีรายละเอียดดังนี้
                          วิสัยทัศน์ :  เป็นองค์กรชั้นนําด้านการสืบสวนสอบสวนที่มีมาตรฐานในระดับสากล และได้รับ
                   ความเชื่อมั่นในการบังคับใช้กฎหมายด้วยความเป็นธรรม
                          พันธกิจ :  ปูองกัน ปราบปราม สืบสวน สอบสวนและดําเนินคดีพิเศษอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

                   ความเป็นธรรม
                          ยุทธศาสตร์ :
                                   ๑)  เสริมสร้างความมั่นคงของประเทศในมิติการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ
                                   ๒)  สร้างความเชื่อถือในระดับสากลในมิติการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ

                                   ๓)  สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มศักยภาพการบูรณาการการสืบสวนสอบสวน
                                       คดีพิเศษ
                                   ๔)  สร้างความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชน และพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนตามหลัก

                                       ธรรมาภิบาล
                          ป๎ญหาการค้ามนุษย์บางกรณีมีความจําเป็นที่จะต้องใช้ พ.ร.บ. การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.
                   ๒๕๔๗ ในการทํางานตามมาตรา ๒๑ คดีพิเศษที่จะต้องดําเนินการสืบสวน และสอบสวนตาม พ.ร.บ. นี้
                   ได้แก่ คดีความผิดทางอาญาดังต่อไปนี้
                          (๑)  คดีความผิดทางอาญาตามกฎหมายที่กําหนดไว้ในบัญชีท้าย พ.ร.บ. นี้ และที่กําหนดใน

                   กฎกระทรวงโดยการเสนอแนะของกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมายดังกล่าว
                   จะต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
                          (ก)  คดีความผิดทางอาญาที่มีความซับซ้อนจําเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวน และรวบรวม

                   พยานหลักฐานเป็นพิเศษ
                          (ข)  คดีความผิดทางอาญาที่มีหรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อย และ
                   ศีลธรรมอันดีของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือระบบเศรษฐกิจ
                   หรือการคลังของประเทศ

                          (ค)  คดีความผิดทางอาญาที่มีลักษณะเป็นการกระทําความผิดข้ามชาติที่สําคัญ หรือเป็นการ
                   กระทําขององค์กรอาชญากรรม
                          (ง) คดีความผิดทางอาญาที่มีผู้ทรวงอิทธิพลที่สําคัญเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน
                          (จ)  คดีความผิดทางอาญาที่มีพนักงานฝุายปกครองชั้นผู้ใหญ่ หรือตํารวจชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งมิใช่

                   พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษเป็นผู้ต้องสงสัย เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าน่าจะได้
                   กระทําความผิดอาญา หรือเป็นผู้ถูกกล่าวหา หรือผู้ต้องหา
                          (๒) คดีความผิดทางอาญาอื่นนอกจาก (๑) ตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่
                   น้อยกว่าสองในสามของกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่


                                                             ๘๔
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109