Page 94 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 94

๓) มาตรการปราบปราม ให้ดําเนินการปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะแรงงาน
                   กลุ่มเสี่ยง อาทิ แรงงานประมง แรงงานในโรงงาน สถานประกอบการ และแรงงานภาคการเกษตร และ

                   ต้องไม่ให้มีการค้ามนุษย์ในรูปแบบการค้าประเวณีเด็ก การบังคับค้าประเวณี การนําคนมาขอทาน หากพบ
                   การกระทําผิดให้ดําเนินคดีตามกฎหมายให้ถึงที่สุด
                          ๔) มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเข้าถึงเครือข่ายค้ามนุษย์ในพื้นที่ โดยใช้มาตรการด้านการ
                   ข่าว เพื่อขยายผลไปสู่ตัวการ นายทุน เครือข่ายขบวนการค้ามนุษย์ รวมทั้งประสานการบังคับใช้กฎหมาย

                   ที่เกี่ยวข้องกับการยึดทรัพย์ ต้องประสานข้อมูลเครือข่ายขบวนการค้ามนุษย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                   อย่างใกล้ชิด รวมทั้งสืบสวนหาข่าว ตามข้อร้องเรียนและการแจ้งเบาะแสอย่างจริงจังทุกกรณี
                          ๕)  มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการรับแจ้งข้อมูลข่าวสารการค้ามนุษย์ โดยผ่านเครือข่ายศูนย์
                   ดํารงธรรมจังหวัดและอําเภอ จัดชุดเคลื่อนที่เร็วในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ประจําตําบล หมู่บ้านและ

                   ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาความร่วมมือในการเฝูาระวังและรับแจ้งเบาะแส
                   จากองค์กรอาสาสมัครภาคเอกชนในพื้นที่ (NGO)  รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารจากภาคีเครือข่ายใน
                   พื้นที่
                          ๖)  มาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ กรณีพบว่า ผู้ใดเป็นเหยื่อจากการค้า

                   มนุษย์ ให้รายงานมายังกระทรวงมหาดไทย เพื่อใช้อํานาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองอนุญาตให้
                   ผู้เสียหายพํานักอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เพื่อประโยชน์ในการดําเนินคดีกับขบวนการค้ามนุษย์
                   และให้มีสถานที่คุ้มครองหรือที่พักพิงของผู้เสียหายและดูแลช่วยเหลือเหยื่อจากการค้ามนุษย์ตาม

                   มาตรฐานสากล
                          ๗)  มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ ให้ทุกจังหวัดยึดถือและ
                   ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด โดยกําชับเจ้าหน้าที่ทุกระดับของหน่วยงานสังกัด
                   กระทรวงมหาดไทย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ให้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสวงหา
                   ผลประโยชน์โดยมิชอบเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ทุกกรณี หากตรวจสอบพบ ให้ลงโทษทางวินัยอย่างเด็ดขาด

                          ๘)  มาตรการประชาสัมพันธ์ทําความเข้าใจให้ทั่วถึง มีการรณรงค์ทั้งของพี่น้องประชาชนถ้าท่าน
                   พบเห็นก็แจ้งหน่วยที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ผู้ประกอบการเรือประมง
                   ผู้ประกอบการโรงงาน ผู้ประกอบการต่างๆที่ใช้แรงงาน ให้พาไปจดทะเบียนให้ถูกต้อง มีการกําหนด

                   มาตรการด้านการประชาสัมพันธ์ เพื่อรณรงค์ให้หน่วยงาน องค์กร ทุกภาคส่วน ได้รวมพลังแสดง
                   เจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดจิตสํานึก
                   และตระหนักถึงป๎ญหาการค้ามนุษย์ ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเฝูาระวังและแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ
                   จริงของประเทศไทยที่จะดําเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง

                          สําหรับมาตรการด้านการแก้ไขป๎ญหา “กรณีการค้ามนุษย์ในกิจการประมง”  เน้นย้ําให้ผู้ว่า
                   ราชการจังหวัด ๒๒  จังหวัดชายทะเล เข้มงวดมิให้มีการใช้แรงงานทาสในกิจการประมงและกิจการที่
                   ต่อเนื่อง ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้อนุญาตให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงตามที่ได้กล่าวไป
                   แล้ว รวมทั้งต้องดําเนินการควบคุมดูแลการทําประมงในพื้นที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และกฎ

                   กติการะหว่างประเทศอีกด้วย
                          ข้อจํากัดของศูนย์ประสานงานด้านปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์คือ การมีอัตรากําลัง
                   เจ้าหน้าที่น้อย คือมีเพียง ๒๐๐ กว่าคน แต่ที่ปฏิบัติงานด้านการปูองกันและปราบปรามจริงๆมีประมาณ
                   ๖๐ คนซึ่งไม่เพียงพอ ส่วนป๎ญหาอุปสรรคคือการบูรณาการกับทุกภาคส่วนทําได้ยากเพราะการ


                                                             ๗๔
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99