Page 101 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 101

ระหว่างกัน รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรเพื่อสนับสนุน
                                               การดําเนินงานของอาเซียน

                                 ยุทธศาสตร์ที่ ๓ สนับสนุนและส่งเสริมการเชื่อมโยงที่ครบวงจร ระหว่างทั้ง ๓ ประชาคม
                                               อาเซียน และในกรอบเวทีต่าง ๆทั้งอาเซียน อาเซียนบวกหนึ่งกับ
                                               ประเทศคู่เจรจาเป็นรายประเทศ อาเซียนบวกสาม และเวทีเอเชีย
                                               ตะวันออก เป็นต้นเพื่อสนับสนุนกระบวนการรวมตัวในอาเซียน

                                 ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ผลักดันวาระของประชาชนในอาเซียน อาทิ การบริหารจัดการภัยพิบัติ
                                               ประเด็นที่เกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ ป๎ญหาข้ามชาติ และ
                                               ผลกระทบที่เกิดจากความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน
                                 ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ผลักดันแนวทางดําเนินงานภายในประเทศเพื่อให้บรรลุเปูาหมายการ

                                               เตรียมความพร้อมของภาคส่วนต่างๆ ในประเทศไปสู่การเป็นประชาคม
                                               อาเซียน รวมทั้งส่งเสริมการตระหนักรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนแก่
                                               สาธารณชน
                          อํานาจหน้าที่ของกรมอาเซียนมี ๓ ประการ คือ

                                 (๑)  ดําเนินงานในฐานะสํานักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ โดยมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
                                                  (ก)  เป็นผู้ประสานงานกลางแห่งชาติ
                                                  (ข)  เป็นหน่วยงานระดับชาติซึ่งเก็บรักษาข้อสนเทศในเรื่องทั้งปวงเกี่ยวกับ

                                               อาเซียน
                                                  (ค)  เป็นผู้ประสานงานระดับชาติเกี่ยวกับการอนุวัติข้อตัดสินใจของอาเซียน
                                                  (ง)  เป็นผู้ประสานงานและสนับสนุนการเตรียมการระดับชาติของการประชุม
                                               อาเซียน
                                                  (จ)  ส่งเสริมอัตลักษณ์และความสํานึกเกี่ยวกับอาเซียนในระดับชาติ

                                                  (ฉ)  ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาประชาคมอาเซียน
                                 (๒)  ดําเนินงานและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและระหว่าง
                   ประเทศสมาชิกอาเซียนกับคู่เจรจาและองค์กรระหว่างประเทศ ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาล

                   ภายใต้กรอบ ความร่วมมือของอาเซียน
                                 (๓)  ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่
                   กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
                          จะเห็นได้ว่า กรมอาเซียนจะดูแลเฉพาะความร่วมมือในกรอบอาเซียนเท่านั้น สําหรับเรื่องที่

                   เกี่ยวกับป๎ญหาด้านอาชญากรรมข้ามชาติ กรมอาเซียนจะทําหน้าที่เข้าไปติดตาม ให้ความช่วยเหลือ โดยมี
                   สํานักงานตํารวจแห่งชาติทําหน้าที่เป็นเจ้าภาพหลัก และขณะนี้กรมอาเซียนได้ทําการยกร่างอนุสัญญา
                   เซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการรอลงนาม
                          ข้อจํากัดของกรมอาเซียนในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ที่สําคัญ คือ กรมอาเซียนจะ

                   มีหน้าที่ดูแล และรับผิดชอบเฉพาะความร่วมมือในกรอบของอาเซียนเท่านั้น ซึ่งไม่ได้มีอํานาจหน้าที่
                   โดยตรงในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพราะความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเอเชีย
                   ตะวันออกเฉียงใต้จะอยู่ในความรับผิดชอบของกรมเอเชียตะวันออก




                                                             ๘๑
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106