Page 102 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 102

ป๎ญหาอุปสรรคของกรมอาเซียนในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ คือ กรมอาเซียนจะ
                   ทํางานที่มุ่งเน้นในลักษณะของนโยบายมากกว่าการปฏิบัติ และในป๎จจุบันได้มีการยกร่างอนุสัญญา

                   อาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการรอลงนาม จึงเป็นผลทําให้การปูองกัน
                   และปราบปรามการค้ามนุษย์ที่อยู่ภายใต้การดูแล และรับผิดชอบของกรมอาเซียนยังไม่มีบทบาทหน้าที่
                   อย่างชัดเจน


                          (๖) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
                          จากการสัมภาษณ์ผู้แทนของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พบว่า กระทรวงแรงงานได้
                   กําหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะต้องดําเนินการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะ
                   ด้านแรงงานประมง ซึ่งเป็นงานที่มีความยากลําบาก และขาดแคลนแรงงานเป็นจํานวนมาก ดังนั้นจึงมี

                   แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเคลื่อนย้ายเข้ามารับจ้างทํางานอยู่เป็นจํานวนมากเช่นกัน และมีจํานวน
                   หนึ่งที่ตกเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์ ป๎จจุบันกระทรวงแรงงานมีการดําเนินการเชิงบูรณาการกับหลาย
                   หน่วยงาน ไม่เฉพาะหน่วยงานในประเทศเท่านั้น ยังได้ร่วมมือกับองค์กรแรงงานระหว่างประเทศเพื่อการ
                   โยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ในป๎ญหาการค้ามนุษย์ด้วย

                          การสนับสนุนการดําเนินการแก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์  กระทรวงแรงงานได้ดําเนินการด้าน
                   กฎหมาย โดยการออกกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมง และออกกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงาน
                   ในงานเกษตรกรรม ซึ่งประกาศใช้ไปแล้วเมื่อธันวาคม ๒๕๕๖ ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานสากล ส่วนด้านการ

                   ปฏิบัติ ได้ใช้ความพยายามในการทํางานขึ้นไปสู่เปูาหมายสากล ไม่ได้หยุดแค่การรายงานใน Tip Report
                          สําหรับประเด็นเรื่องของการค้ามนุษย์นั้น กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงถือเป็น
                   กฎกระทรวงที่มีความเกี่ยวข้องมากที่สุด ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงาน เพื่อบังคับใช้
                   กับงานประมงทะเล เนื่องจากเป็นงานที่มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดป๎ญหาการค้ามนุษย์ ดังนั้น กฎ
                   กระทรวงฯ ฉบับนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทางทะเลให้มี

                   มาตรฐานที่ควรจะเป็น และแก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ซึ่งเป็นนโยบายสําคัญ และเร่งด่วนของ
                   รัฐบาล ซึ่งมีขอบเขตของการบังคับใช้ ดังนี้
                          กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. ๒๕๕๗ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ๓๐ ธันวาคม

                   ๒๕๕๗ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็มีผลใช้บังคับได้ตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครอง
                   แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยมีขอบเขตการใช้บังคับนายจ้างที่มีลูกจ้าง ๑ คนขึ้นไปใน “งานประมงทะเล” แม้
                   เรือที่ทําการประมงจะไปประจําอยู่นอกราชอาณาจักรติดต่อกันเกิด ๑ ปีขึ้นไปก็ต้องอยู่ภายใต้กฎกระทรวง
                   ฉบับนี้ และมีขอบเขตใช้บังคับเฉพาะงานประมงทะเลภาคเอกชนทุกประเภทที่ใช้เรือประมงไม่ว่าเรือนั้นจะ

                   ขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก หรือมีลักษณะใดก็ตาม ไม่ว่าจะทําการประมงบริเวณชายฝ๎่ง หรือประมงน้ําลึก
                   แต่ต้องเป็นการประมงที่ใช้เรือสําหรับงานประมงทะเลเพื่อการค้าเท่านั้น
                          ส่วนคําว่า “งานประมงทะเล”  ได้แก่ งานหรือการกระทําอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการทําประมงใน
                   ทะเล โดยใช้เรือประมง หรือเรืออื่นที่เกี่ยวข้องกับการประมง และเมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติการ

                   ประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ มาตรา ๔ ให้นิยามความหมายคําว่า “ทําการประมง” หมายความว่า จับ ดัก ล่อ ทํา
                   อันตราย ฆ่าหรือเก็บสัตว์น้ําในที่จับสัตว์น้ําด้วยเครื่องมือทําการประมง หรือด้วยวิธีใดๆ เมื่อพิจารณา
                   ประกอบนิยามของคําว่า งานประมงทะเลแล้ว งานประมงทะเลก็คืองาน หรือการกระทําใดๆ ที่เกี่ยวกับ
                   จับ ดัก ล่อ ทําอันตาย ฆ่าหรือเก็บสัตว์น้ําในที่จับสัตว์น้ําด้วยเครื่องมือทําการประมง หรือด้วยวิธีใดๆ ใน


                                                             ๘๒
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107