Page 100 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 100
(๓) ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในฐานะสํานักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ และ
เลขานุการคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ
(๔) สร้างความตระหนักรู้ ให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องและเหมาะสมเกี่ยวกับ
ประชาคมอาเซียน และการดําเนินการเชิงรุกในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยสู่
การเป็นประชาคมอาเซียนต่อสาธารณชน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศสมาชิก
อาเซียน
(๕) สนับสนุนการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานต่างๆ เพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
รวมทั้งบูรณาการแผนดําเนิน งานการเชื่อมโยงระหว่างประชาคมทั้งสาม ได้แก่
ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและ
วัฒนธรรม และความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน
สําหรับเปูาประสงค์ กรมอาเซียนได้กําหนดไว้ ๕ ประการ คือ
(๑) รักษาและส่งเสริมสถานะ/บทบาทของประเทศไทยในเวทีอาเซียนทั้งในด้านเสถียรภาพ
และความมั่นคงทางการเมืองศักยภาพและความเจริญทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทาง
สังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียนในกรอบความ
ร่วมมือที่มีอาเซียนเป็นแกนนํา
(๒) ร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล ความโปร่งใส
ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน แก้ไขภัยคุกคามรูปแบบใหม่และผลกระทบทางลบที่
เกิดจากความเชื่อมโยงระหว่างกัน
(๓) ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาทั้งทางการเมืองความมั่นคง
เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมและความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
(๔) ในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-จีน จะดําเนินบทบาทเชิงรุกที่
สร้างสรรค์
(๕) ร่วมมือและสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคม
อาเซียนในปี ๒๕๕๘ ให้สามารถมองเห็นภาพรวมความร่วมมือกรอบอาเซียน และ
บูรณาการแผนดําเนินงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งทางการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ
และสังคมและวัฒนธรรม เพื่อให้ไทยพร้อมก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
ยุทธศาสตร์ของกรมอาเซียนมี ๕ ยุทธศาสตร์ คือ
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ดําเนินการเชิงรับและรุกในมิติต่างๆ เพื่อรักษาและผลักดันบทบาท/จุด
แข็งของไทยในเวทีอาเซียนทั้งในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ๑๐
ประเทศ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม ๕ ประเทศ และกลุ่มประเทศ
สมาชิกอาเซียนใหม่ ๔ ประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ใช้ประโยชน์จากศักยภาพของประเทศไทย เพิ่มบทบาทยุทธศาสตร์ของ
ไทยในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา เพื่อสร้าง
ความก้าวหน้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออก อาทิ ประชาธิปไตย สิทธิ
มนุษยชนธรรมาภิบาลการลดช่องว่างเพื่อการพัฒนา การเชื่อมโยง
๘๐