Page 96 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 96
คุ้มครอง และรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(๒) ดําเนินการทุกวิถีทางเพื่อปูองกันปราบปราม และแก้ไขป๎ญหาด้านการค้ามนุษย์ โดย
การศึกษารวบรวมข้อมูล กําหนดแผน แผนงาน โครงการ และกิจกรรมทั้งระยะสั้น ระยะต่อเนื่อง ระยะยาว
จัดทําคําของบประมาณ และเร่งรัดติดตาม เพื่อให้เกิดผลในการปฏิบัติอย่างจริงจัง เป็นรูปธรรมและยั่งยืน
(๓) บูรณาการกับส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรเอกชน (NGO) ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อดําเนินการปูองกันปราบปราม และแก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์ เน้นการ
คัดแยกเหยื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในทุกด้าน
นอกจากนี้มาตรการดําเนินการของสํานักงานตํารวจแห่งชาติสามารถแบ่งออกได้เป็น ๖ มาตรการ
ได้แก่
(๑) มาตรการแสวงหาความร่วมมือและสร้างเครือข่ายปฏิบัติการ เป็นมาตรการที่จําเป็นพื้นฐาน
ในการระดมความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมเป็นเครือข่ายปฏิบัติการในกลุ่มเปูาหมาย เน้นการสร้างความ
ร่วมมือในทุกภาคส่วน ประกอบด้วย ภาคการยุติธรรม ภาคการพัฒนาสังคม ภาคแรงงาน ภาคสาธารณสุข
ภาคการปกครอง ภาคกิจต่างประเทศ และภาคประชาสังคม
(๒) มาตรการสืบสวน คือการรวบรวมข้อมูลบุคคล และสถานที่ โดยเน้นพื้นที่เปูาหมายสําคัญใน
การปฏิบัติการ ได้แก่ สถานประกอบการ/ โรงงานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก แพปลา
เรือประมง สถานบริหาร ร้านคาราโอเกะ ตลอดจนสถานที่ล่อแหลมหรือเคยมีการกระทําความผิด หรือ
เคยมีพฤติการณ์แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หรือบังคับใช้แรงงาน หรือบริการที่มีลักษณะเป็นความผิด
ฐานค้ามนุษย์ เพื่อรวบรวมข้อมูลบุคคล เช่น ตัวการ นายทุน ผู้สนับสนุน ผู้อยู่เบื้องหลัง ผู้ตระเตรียม หรือ
สมคบ รวมทั้งเหยื่อการค้ามนุษย์ สถานที่ และพฤติการณ์ที่กระทําความผิดไว้ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อเป็น
หลักฐานในการดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดและความรวดเร็วในการช่วยเหลือเหยื่อ
(๓) มาตรการบังคับใช้กฎหมาย คือการกําหนดรูปแบบและมาตรฐานในการสอบสวนให้มีความ
รวดเร็วและประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น สํานักงานอัยการสูงสุด ศาลยุติธรรมในการดําเนินคดีเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว
สอดคล้องกับปฏิญญาสากล ในเรื่องการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การบังคับใช้แรงงานหรือ
บริการ เช่น ป๎ญหาการใช้แรงงานในเรือประมง รวมทั้งอุตสาหกรรมการประมง เป็นต้น และการเอาคนลง
มาเป็นขอทาน และเรื่องอื่นๆ ที่สําคัญ โดยยึดหลัก ความรวดเร็ว ความถูกต้องและยุติธรรม รวมทั้งนํา
กฎหมายการฟอกเงินมาใช้ดําเนินคดีกับผู้ต้องหาและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องด้วย
(๔) มาตรการรวบรวมพยานหลักฐานและระบบฐานข้อมูล คือการรวบรวมพยานหลักฐานใน
กระบวนการสอบสวนต้องมีความถูกต้อง แม่นยํา มีประสิทธิภาพสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน
พนักงานสอบสวนต้องมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการสอบสวน การรวบรวมพยานหลักฐานในที่เกิด
เหตุ การสอบปากคําผู้เสียหาย การสืบพยานล่วงหน้าในคดีความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ รวมทั้งพัฒนา
ระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในการด้านการดําเนินคดีให้มีความโปร่งใส รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
โดยบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงข่าวสารที่ควรรู้ถึงสิทธิ
บทบาทหน้าที่และกรณีที่ควรเฝูาระวัง
(๕) มาตรการในการคัดแยกผู้เสียหาย คือการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ
ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ สามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน เพิ่มการ
๗๖