Page 103 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 103

ทะเลโดยใช้เรือประมง ส่วนการกระทําอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการประมงในทะเลนั้นจะต้องเป็นการะทําที่
                   เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับงานประมงทะเล เช่น การเตรียมเรือ การเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ เพื่อการประมง

                   การขนสัตว์น้ําที่จับได้ขึ้นฝ๎่ง และการทําความสะอาดเรือ เป็นต้น และรวมถึงงานที่ขนถ่าย เก็บรักษา รับ
                   และขนย้ายสัตว์น้ําจากเรือประมงในทะเลมายังฝ๎่ง (งานที่ทําในเรือทัวร์ และเรือห้องเย็น) แต่ไม่รวมถึงการ
                   ซ่อมบํารุง การรักษาเรือ หรือเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทําการประมงที่ทําบนฝ๎่ง และงานที่ทําต่อเนื่องจากการ
                   ทําประมงทางทะเล เช่น การคัดเลือก การขาย การแปรรูปสัตว์น้ํา ที่จับมาได้บนฝ๎่งแล้ว แม้ว่านายจ้างจะ

                   ประกอบกิจการเกี่ยวกับการประมงทะเล แต่การทํางานดังกล่าวก็มิใช่ส่วนหนึ่งของงานประมงทะเลตาม
                   ความหมายในกฎกระทรวงที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎกระทรวงฯ การทํางานของลูกจ้างในงานดังกล่าว
                   ย่อมอยู่ภายใต้ และได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่นายจ้างและ
                   ลูกจ้างมีสิทธิหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ นอกจากนี้แล้วกฎกระทรวงฯ

                   มิได้ยกเว้นมิให้บังคับการประมงพื้นบ้านเนื่องจากกฎหมายถือเอาการคุ้มครองแรงงานในฐานะที่เป็น
                   ลูกจ้างเป็นเกณฑ์โดยมิได้นําเกณฑ์ประเภทของทําประมงมาบัญญัติกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ดังนั้น การ
                   ทําประมงพื้นบ้าน (Artisanal Fisheries) หรือประมงชายฝ๎่ง (Inshore Fisheries) หากมีจ้างแรงงานที่เข้า
                   ลักษณะงานประมงทะเลเพื่อการค้า หรือประมงพาณิชย์ (Commercial  Fisheries)  ก็ต้องอยู่ภายใต้

                   กฎกระทรวงฉบับนี้ แต่หากเป็นการทําการประมงเพื่อการบริโภคในครัวเรือนที่ช่วยกันทํา ในระหว่าง
                   ครอบครัวเครือญาติโดยไม่มีค่าตอบแทนการทํางาน (Unpaid  Family  Workers)  ระหว่างคนทําประมง
                   หรือไม่มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้าง ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานก็ไม่อยู่ภายใต้บังคับตาม

                   กฎกระทรวงฉบับนี้
                          อนึ่ง ภายหลังประกาศใช้กฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว ย่อมมีผลทําให้การจ้างแรงงานเด็กที่อายุต่ํา
                   กว่า ๑๘ ปี ไม่ว่าจะมีการจ้างก่อนกฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับเป็นการฝุาฝืนกฎหมาย เนื่องจากไม่มีบท
                   เฉพาะกาลยกเว้นให้การจ้างมีผลต่อไปได้ และมีผลให้นายจ้างต้องทําสัญญาจ้างเป็นหนังสือตามที่อธิบดี
                   ประกาศกําหนดแม้การจ้างเดิมนายจ้างจะไม่ได้ทําสัญญาเป็นหนังสือก็ตาม

                          ข้อจํากัดของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานในการปูองกันและปราบปราม
                   การค้ามนุษย์ที่สําคัญ คือ เจ้าหน้าที่ที่ทํางานด้านการค้ามนุษย์มีจํานวนน้อย เพราะฉะนั้นประชาชนต้องมี
                   ส่วนร่วม และให้ความร่วมมือในการแจ้งเบาะแส คอยทําหน้าที่เป็นหูเป็นตา และเข้าใจความหมายของคํา

                   ว่าการค้ามนุษย์อย่างถูกต้อง นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องทํางานร่วมกับกระทรวงแรงงานมี
                   ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการปูองกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ ทําให้กระบวนการทํางานเพื่อให้
                   บรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างยากลําบาก
                          ป๎ญหาอุปสรรคของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน คือ การนําเสนอข่าว

                   ของสื่อซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ทําให้สังคมเกิดความเข้าใจผิดได้ถึงกระบวนการทํางานของกระทรวง
                   แรงงาน เช่น มาตราของกรมสวัสดิการพัฒนาแรงงานกําหนดไว้ว่าการจ้างงานเด็กจะต้องมีอายุไม่ต่ํากว่า
                   ๑๕ ปี และลักษณะของงานก็ต้องไม่เป็นงานที่อันตราย แต่มีการนําเสนอข่าวเด็กอายุ ๑๒ ปี กตัญํูรับจ้าง
                   ซ่อมรถ จึงทําให้ต้องส่งเจ้าหน้าที่ประสานกับจังหวัดลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบ ซึ่งพบว่าเด็กช่วยล้างจาน

                   เท่านั้น ไม่ใช่งานหนัก สุดท้ายเด็กคนนี้ก็ต้องตกงาน เป็นต้น





                                                             ๘๓
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108