Page 97 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 97
ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ
ฟื้นฟู เยียวยา และส่งกลับเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานร่วมกันแบบบูรณาการ
(๖) มาตรการ ๕ ตรวจ ในการปูองกันปราบปรามการค้ามนุษย์จากสถิติคดีค้ามนุษย์ทุกปีที่ผ่านมา
พบว่าผู้เสียหายส่วนใหญ่ในคดีค้ามนุษย์ในแต่ละรูปแบบยังคงเป็นเด็กไทย และต่างด้าวที่มีอายุต่ํากว่า ๑๘
ปี สํานักงานตํารวจแห่งชาติ จึงกําหนดมาตรการเพื่อมิให้เด็กอยู่ในสถานที่เสี่ยง หรืออยู่ในสถานการณ์ที่
เสี่ยงต่อการถูกละเมิด ซึ่งจะเป็นการปูองกันมิให้มีคดีค้ามนุษย์เกิดขึ้น ประกอบด้วย การตรวจเยี่ยม
ตรวจสอบ ตรวจแรงงาน ตรวจค้น และตรวจจับ
ทั้งนี้ในการดําเนินการตามมาตรการดังกล่าวให้มีการจัดระบบตรวจสอบกับฐานข้อมูลการเดิน
ทางเข้า – ออกของสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ฐานข้อมูลคนหาย ฐานข้อมูลหมายจับ และฐานข้อมูลการ
จดทะเบียนแรงงานต่างด้าวของกระทรวงแรงงาน และให้จัดเจ้าหน้าที่ตํารวจออกประชาสัมพันธ์ให้ความรู้
เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ โดยเน้นการนําเด็กมาแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบในรูปแบบ
ต่างๆ และการไม่ปล่อยให้เด็กเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิดและจัดให้มีแผ่นปูาย
ประชาสัมพันธ์ติดตั้งตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนผู้พบเห็นเด็กในสถานที่เสี่ยง เด็กถูกใช้แรงงาน
หรือถูกบังคับใช้แรงงาน สามารถแจ้งเหตุได้ที่ศูนย์ OSCC ๑๓๐๐ ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ สายด่วน ๑๑๙๑ กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ และสายด่วน ๑๙๑ สถานี
ตํารวจทั่วประเทศ
ข้อจํากัดของสํานักงานตํารวจแห่งชาติในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ที่สําคัญ คือ
เรื่องกําลังพลของตํารวจในการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่ทํางานด้านการค้ามนุษย์มีจํากัด เช่น กรม
แรงงานที่ต้องทําหน้าที่ตรวจแรงงาน ซึ่งต้องอาศัยกําลังพลของตํารวจในการเข้าตรวจแรงงานประมง เป็น
ต้น อีกทั้งพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์มีจํานวนหลายฉบับ ทําให้เจ้าหน้าที่บางส่วนยังขาด
ความรู้ความเข้าใจเท่าที่ควร ส่งผลให้การนําไปปฏิบัติใช้ไม่สามารถบรรลุผลสําเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ป๎ญหาอุปสรรคของสํานักงานตํารวจแห่งชาติในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ที่สําคัญ
สามารถสรุปประเด็นได้ดังนี้
๑) รูปแบบของการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการค้าประเวณีมีการเปลี่ยนแปลง และมีความซับซ้อน
มากยิ่งขึ้นต่อการเข้าจับกุมดําเนินคดี ซึ่งแต่ก่อนผู้เสียหายจะขายบริการผ่านสถานบริการอย่างเดียว แต่
ป๎จจุบันผู้เสียหายมีอยู่ตามโรงแรม ซึ่งทางโรงแรมจะทําหน้าที่โทรศัพท์จัดหาให้ ดังนั้น การล่อซื้อเพื่อ
ดําเนินคดีจึงทําได้ยากลําบาก เพราะผู้ประกอบการไม่รับเงินเองแต่เปลี่ยนไปให้ผู้เสียหายรับเงินแทน ทํา
ให้การจับกุมของตํารวจเกิดข้อจํากัด เพราะตํารวจจะสามารถดําเนินคดีได้ต้องเป็นเหตุที่ทําให้เกิดการ
จับกุมความผิดแบบซึ่งหน้า
๒) หนังสือเดินทางของต่างประเทศไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะ
เรื่องของอายุ จึงทําให้เกิดความยากลําบากต่อการดําเนินคดีกรณีผู้เสียหายเป็นเด็กที่มีอายุต่ํากว่า ๑๘ ปี
เพราะผู้ประกอบการมักทําหนังสือเดินทางให้มีอายุสูงกว่าปกติ ซึ่งหากต่ํากว่า ๑๘ ปีแล้ว เมื่อถูกดําเนินคดี
จะถูกข้อหาค้ามนุษย์แน่นอน การแจ้งอายุเกินกว่าที่กําหนดไว้ในกฎหมายคือ ๑๕ ปี ทําให้ไม่เข้าเกณฑ์
การค้ามนุษย์
๓) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ซึ่งต้องทํางานกับตํารวจยังขาดความรู้ และความเข้าใจ
ถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์อย่างชัดเจน เพราะการค้ามนุษย์มีพระราชบัญญัติหลายฉบับเข้ามา
เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ร.บ. ควบคุมการขอทาน เป็นต้น
๗๗