Page 93 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 93
ภายใต้นโยบายของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งมีข้อสั่งการให้ทุกภาคส่วนที่
เกี่ยวข้องเร่งรัดดําเนินการแก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม กระทรวงมหาดไทยจึงได้สั่งการ
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ดําเนินการ ดังนี้
๑. ให้รวบรวมข้อมูลหรือพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการนําพาและลักลอบขนคนเข้าเมือง และ
การค้ามนุษย์ โดยเฉพาะ การนําคนต่างด้าวมาบังคับใช้แรงงาน ค้าประเวณี แสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ
จากเด็กอายุต่ํากว่า ๑๘ ปี นํามาเป็นขอทาน รวมทั้งสํารวจข้อมูลสถานบริการ โรงแรม ที่สุ่มเสี่ยงหรือมี
การมั่วสุมต่อการค้าประเวณี หรือมีพนักงานอายุต่ํากว่า ๑๘ ปี เข้าทํางาน รวมทั้งข้อมูลของผู้มีอิทธิพล
และตัวการใหญ่ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาจเข้าข่ายมีส่วนเกี่ยวข้อง กับการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิ
ชอบเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ทั้งคนไทยและคนต่างด้าวทุกกรณี
๒. จัดชุดสืบสวนจับกุมผู้กระทําผิดฐานค้ามนุษย์หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ เพื่อ
สกัดกั้นการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบและแก้ไขป๎ญหาในพื้นที่ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยให้มีทีมสหวิชาชีพซึ่งมี
พนักงานเจ้าหน้าที่หรือนักสังคมสงเคราะห์ หรืออาจจัดให้มีล่ามเข้าร่วมดําเนินการ ทั้งนี้ ให้คัดแยกและ
คุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ตามกฎหมาย หลักมนุษยธรรม รวมทั้งให้ทุกจังหวัดรายงานผลการ
ปฏิบัติงานและสถานการณ์การค้ามนุษย์ในพื้นที่ให้กระทรวงมหาดไทยทราบอย่างต่อเนื่อง
ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้กําชับให้ทุกจังหวัดดําเนินการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ใน
พื้นรับผิดชอบอย่างเคร่งครัด ต่อเนื่อง และจริงจัง โดยบูรณาการการแก้ไขป๎ญหาร่วมกับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ทั้งด้านการสืบสวน จับกุม ปราบปรามผู้กระทําผิด ตลอดจนการปฏิบัติต่อผู้เสียหายหรือ
ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ตามมาตรฐานสากลและหลักการมนุษยธรรม
นอกจากนี้ ยังได้จัดชุดปฏิบัติการพิเศษสนับสนุนการดําเนินการปราบปรามการค้ามนุษย์ของ
จังหวัด และมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง ลงพื้นที่
ตรวจติดตามการปฏิบัติงานของจังหวัดอย่างใกล้ชิด
ศูนย์ประสานงานด้านปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กระทรวงมหาดไทยได้กําหนด
มาตรการสําคัญ ๘ ด้าน เพื่อให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด ยึดถือปฏิบัติและบูรณาการแก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์
ให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดสาเหตุ ที่ก่อให้เกิดป๎ญหาการค้ามนุษย์ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน
อย่างเป็นระบบและเป็นตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี โดยมีมาตรการที่สําคัญ ๗ ด้าน คือ
๑) มาตรการปูองกัน ให้จังหวัดดําเนินการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว ๓ สัญชาติ ณ ศูนย์บริการ
จดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) และเร่งดําเนินการจดทะเบียนแรงงาน
ประมงใน ๒๒ จังหวัดชายทะเลให้ถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งการให้สถานะที่ถูกต้องกับชนกลุ่มน้อยและ
บุคคลไร้สัญชาติซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน และจะต้องเร่งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านกลไก
ของรัฐ สถานประกอบการ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างจิตสํานึกในการมี
ส่วนร่วมเป็นกลไกเฝูาระวังป๎ญหาการค้ามนุษย์ในชุมชนและสถานประกอบการทุกประเภท
๒) มาตรการสกัดกั้น เน้นปูองกันบริเวณแนวชายแดน เส้นทางเดินทางเข้าพื้นที่ชั้นใน โดยการ
จัดตั้ง จุดสกัดตามเส้นทางต่างๆ ที่คาดว่าขบวนการนําพาผู้หลบหนีเข้าเมืองจะใช้เป็นเส้นทางลําเลียงคน
หลบหนีเข้าเมืองส่งไปยังจังหวัดต่างๆ หรือผ่านต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งสกัดกั้นการหลบหนีเข้า
มาทางช่องทางธรรมชาติทั้งทางบก ทางน้ํา และทางทะเล และให้จัดตั้งชุดปฏิบัติการระดับตําบล โดย
พนักงานฝุายปกครองทําหน้าที่สํารวจผู้หลบหนีเข้าเมืองที่อยู่ในพื้นที่และจัดทําฐานข้อมูลให้ถูกต้องและ
เป็นป๎จจุบัน
๗๓