Page 92 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 92
แบบไปเช้า เย็นกลับ ๙ คน ไปอยู่กับนายจ้าง ๓ คน รอจัดหางาน ๒ คน ได้รับค่าจ้างวันละ ๓๐๐
บาท นายจ้างมารับ และส่งกลับที่สถานคุ้มครองฯ ทุกวัน โดยมีข้อตกลงกับนายจ้างให้เบิกเงินได้วันละ
๑๐๐ บาท อีก ๒๐๐ บาท สถานคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จะมีบัญชีและเก็บรักษาเงินไว้ให้
การกินอยู่ที่สถานคุ้มครองฯ ฟรีทั้งหมด สถิติของเหยื่อการค้ามนุษย์ตั้งแต่เปิดสถานคุ้มครองฯ มาปี
๒๕๕๒ ถึงป๎จจุบัน อันดับหนึ่งคือพม่า ไทย กัมพูชา ลาว และอื่นๆ ได้แก่ อินเดีย ๗ คน บุคคลไร้
สัญชาติคนจีนอีก ๑ คน พม่าเป็นชาย ๓๑๕ คน ผู้หญิง ๓๙ คน เด็กชาย ๔๖ คน เด็กหญิง ๔ คน
เด็กหญิงเป็นบุตรของผู้เสียหาย ผู้ที่เข้าสถานคุ้มครองฯ จะถูกเข้ารหัสของเลขแต่ละบ้าน ส่วนคนไทย
๑๐๙ คน เป็นชายทั้งหมด กัมพูชาเป็นชาย ๔๑ คน หญิง ๘ คน เด็กชาย ๖ คน เด็กหญิง ๓ คน ส่วน
ใหญ่เด็กผู้หญิงจะเป็นบุตรของผู้เสียหาย เหยื่อชาวพม่าส่วนใหญ่เป็นลูกเรือปะมง เช่นเดียวกับเหยื่อที่
เป็นคนไทย ๘๕% เป็นลูกเรือปะมง รองลงมาคือเด็กที่ถูกบังคับให้ค้าประเวณี ๑๐% อื่นๆ ๕% ถูก
บังคับใช้แรงงานในไร่สัปปะรด ไร่อ้อย ส่วนเหยื่อชาวกัมพูชาจะอยู่ในอุตสาหกรรมปะมง เช่น โรงงาน
ลูกชิ้นย่านสมุทรปราการ สมุทรสาคร และถูกบังคับให้ขอทาน ลูกเรือปะมงจะน้อย ส่วนเหยื่อชาวลาว
จะเป็นคนงานในโรงงาน ๗๕% และอื่นๆ อีก ๑๕%
กระบวนการของสถานคุ้มครองฯ ตั้งแต่แรกคือการแจ้งสิทธิแนะนําภารกิจให้ทราบ หลังจากนั้น
ก็จะแจกของใช้และให้พักผ่อน ระหว่างพักผ่อนก็จะมีพ่อบ้านคอยสังเกตดูความพร้อมของเหยื่อ ข้อมูลที่
ได้มาเอาไปส่งให้นักกฎหมาย ส่งไปพิสูจน์สัญชาติ และส่งเรื่องไปขอเงินกองทุนให้กับเหยื่อ ในกรณีคน
ต่างด้าวแต่มีครอบครัวอยู่ในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ก็จะไปเยี่ยมบ้าน แต่ถ้าคนไหนกลับครอบครัวไม่ได้
จริงๆกระบวนการสถานคุ้มครองฯ ก็จะหางานให้ทํา หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการแล้วจะส่งกลับไปบ้าน
โดยจะมีการเตรียมความพร้อมก่อนส่งกลับ และมีการส่งมอบเอกสารให้แก่ประเทศต้นทาง การไปส่งกลับ
พม่าจะส่งทางด่านเมียวดี และด่านแม่สาย ลาวจะส่งด่านหนองคาย และด่านมุกดาหาร กัมพูชาจะส่ง
ด่านปอยเปต หลังจากการส่งไปแล้วจะมีการประชุมติดตามประเมินผล เรียกว่าประชุม Case
management meeting ๖ เดือนครั้งเพื่อติดตามว่าคนที่ส่งกลับมีชีวิตความเป็นอยู่ดีหรือไม่ อย่างไร
ระยะเวลาในการช่วยเหลือเหยื่อตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงส่งกลับเฉลี่ยประมาณ ๖ เดือนต่อราย
ข้อจํากัดของสถานคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ คือจํานวนเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเหยื่อของ
การค้ามนุษย์มีไม่เพียงพอ ในกรณีที่เหยื่อเป็นชาวต่างชาติ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถสื่อสารกับเหยื่อได้โดยตรง
ต้องสื่อสารผ่านล่าม ทําให้ไม่แน่ใจว่าล่ามแปลภาษาได้ถูกต้องหรือไม่ ส่วนอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในช่วงแรก
ที่รับเหยื่อมาดูแล สภาพจิตใจของเหยื่อยังคงหวาดผวา ยังไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่ เมื่อถูกเรียกมาสอบประวัติก็
ไม่อยากคุยกับเจ้าหน้าที่
(๒) ศูนย์ประสานงานด้านป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้ง “ศูนย์ประสานการปฏิบัติงานด้านปูองกันและปราบปรามการค้า
มนุษย์” อยู่ภายใต้การดูแลของกรมการปกครอง มีบทบาทร่วมกันแก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์ ด้วยการรับ
แจ้งเบาะแสการกระทําความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ เช่น การล่อลวง หน่วงเหนี่ยว กักขัง ใช้กําลังบังคับ
ประเวณี การค้าประเวณีเด็กอายุต่ํากว่า ๑๘ ปี การบังคับใช้แรงงาน การนําคนมาขอทาน ซึ่งสามารถแจ้ง
เบาะแสได้ทางไปรษณีย์ที่ กรมการปกครอง (วังไชยา) ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ หรือ
หมายเลข ๐๒-๓๕๖-๙๕๔๖ และมีบทบาทในการส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษไปทะลายแหล่งที่มีการบังคับใช้
แรงงานหรือสถานที่กักกันเหยื่อการค้ามนุษย์ได้ทั่วประเทศ
๗๒