Page 91 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 91
แต่ถ้ากรณีมาเป็นครอบครัวเช่นพ่อ แม่ ลูก จะถูกจัดแยกออกจากกันซึ่งการคุ้มครองไม่ค่อยได้ผล
เท่าที่ควร เนื่องจากพ่อก็อยากไปหาภรรยา ลูกก็อยากไปหาพ่อแม่ ต่อมาสถานคุ้มครองและพัฒนา
อาชีพ (ชาย) จ.ปทุมธานี จึงได้จัดแบ่งอาคารมา ๑ อาคาร แบ่งเป็นห้องมีทั้งหมด ๑๐ ห้อง เพื่อให้
ครอบครัวมาอยู่ด้วยกัน
วิสัยทัศน์ ของสถานคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์คือ เป็นองค์กรในการจัดสวัสดิการแก่
กลุ่มเปูาหมายอย่างมีมาตรฐานบนพื้นฐานการมีส่วนร่วม สามารถพึ่งตนเองคืนสู่สังคมได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
พันธกิจคือ (๑) การจัดสวัสดิการสังคม (๒) การส่งเสริมภาคีเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (๓)
การพัฒนาระบบสวัสดิการสังคม
ถ้ามีเหยื่อการค้ามนุษย์ที่ไม่อยู่ในพื้นที่สถานคุ้มครองทั้ง ๙ แห่ง กระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ก็มีสถานรองรับที่เป็นบ้านพักเด็กและครอบครัวซึ่งมีในทุกจังหวัด สามารถรับรอง
เป็นการชั่วคราวได้ตามมาตรา ๒๙ ของ พ.ร.บ. ปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ คือผู้
ที่อาจจะเสียหายจากการค้ามนุษย์ซึ่งยังไม่พร้อมที่จะให้ข้อมูลข้อเท็จจริงจึงยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเขา
เป็นผู้เสียหายหรือไม่ จึงต้องคุ้มครองเขาชั่วคราว ภายใน ๒๔ ชั่วโมงต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเขาเป็นผู้เสียหาย
หรือไม่ แต่ถ้า ๒๔ ชั่วโมงแล้วยังไม่รู้ก็สามารถขยายระยะเวลาได้อีก ๗ วัน โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไป
ร้องกับศาลขอขยายเวลาในการสืบหาข้อเท็จจริง และขออนุมัติกับศาลเป็นการคุ้มครองชั่วคราว ถ้า
กรณีเป็นเด็กเกิน ๗ วันแล้วยังไม่ทราบข้อเท็จจริง ก็ต้องใช้ พ.ร.บ คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ คุ้มครองไป
ก่อน แล้วค่อยเข้าสู่กระบวนการสืบหาข้อเท็จจริงว่าเขาเป็นผู้เสียหายทางการค้ามนุษย์หรือไม่
โครงสร้างของสถานคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ แบ่งเป็น ๒ ฝุาย คือ ฝุายบริหารงาน
ทั่วไป และฝุายสวัสดิการสังคม ฝุายบริหารงานทั่วไปประกอบด้วย ธุรการ การเงิน วัสดุ ยานพาหนะ
และพนักงานบริการ ส่วนฝุายสวัสดิการสังคมจะเป็นงานสังคมสงเคราะห์ งานจิตวิทยา งานพยาบาล
งานฝึกอบรม และงานดูแลผู้รับการสงเคราะห์ ตาม พ.ร.บ.ปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ มาตรา
๓๓ การคุ้มครองจะเป็นไปตามหลักการสังคมสงเคราะห์ โดยใช้ภาคีเครือข่ายในการช่วยเหลือ ให้ที่อยู่
อาศัย ช่วยเหลือเรื่องการดําเนินคดีทั้งหมด แต่ถ้าไม่ใช่ผู้เสียหายก็ส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เช่น
สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง สํานักงานตํารวจแห่งชาติ การช่วยเหลือตามมาตรา ๓๓ จะใช้ทีมสหวิชาชีพ
ในการช่วยเหลือ โดยด้านสังคม ด้านกฎหมาย การฟื้นฟูเยี่ยวยา จะมีทั้งทีมภายนอกและภายในของ
หน่วยงาน เป็นผู้ที่มาบูรณาการในการร่วมมือในการทํางานกัน เมื่อมีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเข้ามา ก็จะมีการ
แบ่งงานว่าใครทําอะไร นักสังคมต้องหาข้อเท็จจริงในส่วนไหน นักกฎหมายต้องไปดําเนินการในส่วนไหน
ดําเนินการในส่วนคดีอาญา แพ่ง มีการเรียกร้องค่าเสีย การฟูองร้อง ค่าชดเชย ค่าสินไหมทดแทน
ส่วนการฟื้นฟูเยี่ยวยาก็จะเป็นส่วนของนักสังคมกับนักจิตวิทยาร่วมกัน โดยต้องมีการฝึกอาชีพ หรือการ
จัดหาอาชีพให้ทํา ในระหว่างที่รอให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเป็นพยาน เมื่อคดีเสร็จสิ้นแล้วก็ส่งกลับประเทศต้น
ทางหรือกรณีที่เป็นคนไทยก็ส่งกลับคืนสู่สังคม
ณ วันที่ทําการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ สถานคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จ.ปทุมธานี มีเหยื่อ
ของการค้ามนุษย์ทั้งหมด ๑๕ คน เป็นชาวพม่า ๑๓ คนไทย ๒ คน เป็นการฝากชั่วคราว ชาวพม่า ๓
คน มาจากโรงงานน้ําแข็งที่อ้อมน้อย และเป็นลูกเรือปะมง ๑๐ คน ส่วนคนไทย ๒ คน เป็นลูกเรือปะมง
ผู้เสียหายที่อยู่ ๑๕ คน ได้รับโอกาสให้ออกไปทํางานภายนอกสถานคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
๗๑