Page 90 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 90
(๖) เส้นทางการเดินทางของเหยื่อการค้ามนุษย์จากประเทศไทยไปประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย
สิงคโปร์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นการเดินทางโดยตรงไปยังประเทศปลายทางโดยทางเครื่องบิน
สําหรับเหยื่อการค้ามนุษย์ที่ประเทศมาเลเซียสามารถเดินทางทางบกผ่านด่านชายแดนไทย – มาเลเซีย ที่
ตําบลปาดังเบซาร์ อําเภอสะเดา หรือผ่านทางช่องทางธรรมชาติ โดยมีการประสานงานกับขบวนการค้า
มนุษย์ทางฝ๎่งมาเลเซียอย่างรัดกุมเพื่อมิให้ตํารวจมาเลเซียจับได้
๔.๓ บทบาท ข้อจ ากัด ปัญหาอุปสรรคของหน่วยงานรัฐ และบทบาทของภาคประชาสังคมในการ
ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
๔.๓.๑ บทบาท ข้อจ ากัด และปัญหาอุปสรรคของหน่วยงานภาครัฐ
การวิจัยครั้งนี้ได้ทําการศึกษาเจาะลึกหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทหลักในการปูองกันและ
ปราบปรามการค้ามนุษย์จํานวน ๘ หน่วยงาน คือ (๑) ศูนย์ปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (๒) ศูนย์ประสานงานปราบปรามการค้ามนุษย์
กระทรวงมหาดไทย (๓) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (๔) สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง (๕) กรมอาเซียน
กระทรวงการต่างประเทศ (๖) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน (๗) กรมสอบสวน
คดีพิเศษ และ(๘) สํานักงานคณะกรรมการปูองกันปราบปรามการฟอกเงิน โดยทําการสัมภาษณ์ระหว่าง
เดือนกรกฎาคม – กันยายน ๒๕๕๘ ผลการศึกษาวิจัยบทบาท ข้อจํากัด และป๎ญหาอุปสรรคของแต่ละ
หน่วยงานมีดังนี้
(๑) สถานคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์
หลังจาก พ.ร.บ ปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๕
มิถุนายน ๒๕๕๑ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้จัดตั้งสถานคุ้มครองและพัฒนา
อาชีพทั้งหมด ๙ แห่ง ภายใต้การกํากับดูแลของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ประกอบด้วย สถาน
คุ้มครองและพัฒนาอาชีพ(ชาย) จ.ปทุมธานี สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ จ.นนทบุรี
สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ จ.นครราชสีมา สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านสอง
แคว จ.พิษณุโลก สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ(ชาย) จ.เชียงราย สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพภาคใต้
(บ้านศรีสุราษฎร์) จ.สุราษฎร์ธานี สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ(ชาย) จ.สงขลา สถานคุ้มครองและ
พัฒนาอาชีพ(ชาย) จ.ระนอง และสถานแรกรับเด็กชายปากเกร็ด(บ้านภูมิเวท) จ.นนทบุรี เมื่อกระทรวง
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีการปรับปรุงโครงสร้าง ได้มีการเปลี่ยนชื่อของสถานคุ้มครอง
และพัฒนาอาชีพทั้ง ๙ แห่งเป็น “สถานคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์”
จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของสถานคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ปทุมธานี พบว่า
วัตถุประสงค์ของสถานคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์คือเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อการค้า
มนุษย์อายุ ๑๕ ปีขึ้นไปทั้งชาวไทยและต่างชาติ และคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่มาในรูปแบบ
ของครอบครัว แต่เดิมรับคุ้มครองผู้เสียหายที่มีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป ถ้าผู้เสียหายเป็นผู้หญิงก็จะอยู่บ้าน
หญิงทั้ง ๔ บ้าน ถ้าเป็นกรณีของเด็กก็จะอยู่บ้านภูมิเวท ถ้าเป็นผู้ชายจะอยู่สถานคุ้มครองชายทั้ง ๔ แห่ง
๗๐