Page 89 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 89

(๓)  การนําพาโดยรถส่วนตัว เช่น รถตู้ รถเก๋ง รถกระบะ
                                (๔)  การนําพาโดยรถโดยสารประจําทาง

                                (๕)  การนําพาโดยใช้รถยนต์ของทางราชการ หรือใช้รถที่ตกแต่งคล้ายรถของทางราชการ
                                    เช่น รถของสายตรวจตํารวจ รถพยาบาล รถไฟฟูา รถปุาไม้ รถ รสพ. รถไปรษณีย์
                                    เป็นต้น
                                (๖)  การนําพาโดยการแอบไปกับรถของพ่อค้าเร่ที่เข้ามาเร่ขายสินค้า โดยทําตัวเป็นเสมือน

                                    ลูกจ้างของพ่อค้าเร่ การขนย้ายในลักษณะนี้จะขนย้ายคนได้จํานวนไม่มากนัก
                                (๗)  การนําพาโดยรถขนผัก / รถขนผลไม้ ซึ่งจะมีการทําให้พื้นที่ตรงกลางกระบะหลัง
                                    รถปิ๊คอัพให้เป็นที่โล่ง แล้วให้คนเข้าไปแอบอยู่บริเวณดังกล่าว จากนั้นก็นําผักและ
                                    ผลไม้เรียงซ้อนปิดป๎งไว้ เพื่ออําพรางสายตาของผู้คนและเจ้าหน้าที่

                                (๘)  การนําพาโดยการปลอมแปลงเอกสารเดินทาง มีแก๊งค์ปลอมหนังสือเดินทาง ในกรณี
                                    ที่จะมีการเดินทางข้ามประเทศผ่านนายหน้าที่ได้เสาะแสวงหาเด็กผู้หญิงตามหมู่บ้าน
                                    โดยจะไปรับจากหมู่บ้านในฝ๎่งสาธารณรัฐสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตย
                                    ประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา

                                (๙)  การไปนําพามาทีละคน เช่น ในหนึ่งครอบครัว นายหน้าจะหลอกคนใดคนหนึ่งมา
                                    ก่อนอาจจะเป็น แม่ หรือพ่อ หลังจากนั้นจะเดินทางกลับไปบอกกับลูก ๆ ของ
                                    แรงงานที่พามาครั้งแรกว่าพ่อ หรือแม่ให้ไปอยู่ด้วย

                                (๑๐) การทํา "บัตรผ่านแดน" แบบไปเช้า-เย็นกลับ พอผ่านไปได้ก็จะมีนายหน้าพาเดินทาง
                                    ต่อเข้าเมืองชั้นใน
                          (๔.๓)  วิธีการเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยของการค้ามนุษย์ในรูปแบบของการบังคับให้ขายดอกไม้
                   และขอทาน ใช้เส้นทางรถไฟสายอรัญประเทศ – กรุงเทพฯ และใช้รถยนต์มารับที่สถานีรถไฟลาดกระบัง
                   นําไปส่งที่บ้านพักแถวเขตุมินบุรีและเขตหนองจอก


                          (๕) เส้นทางในการเดินทางของเหยื่อการค้ามนุษย์จากสาธารณรัฐสหภาพเมียนมา
                   สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม

                          ผลการศึกษาสรุปได้ว่า เส้นทางของเหยื่อการค้ามนุษย์ที่เดินทางเข้าประเทศไทยมาได้หลาย
                   ช่องทาง คือ การผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง และเข้ามาแบบผิดกฎหมายตามช่องทางธรรมชาติที่เป็นเขต
                   ปุาเขาหรือแม่น้ําที่กั้นพรมแดน ดังนี้
                              -  ชายแดนไทย-พม่า เข้ามาตามช่องทางธรรมชาติทางจังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่

                                 จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี  และช่องทางจังหวัดระนอง
                              -  ชายแดนไทย-ลาว เข้ามาทางอําเภอเชียงคํา จังหวัดพะเยา อําเภอพิบูลย์มังสาหาร
                                 จังหวัดอุบลราชธานี  ช่องทางจังหวัดมุกดาหาร ช่องทางจังหวัดหนองคาย และช่องทาง

                                 จังหวัดนครพนม
                              -  ชายแดนไทย-กัมพูชา เข้ามาทางอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว  ช่องทางจังหวัด
                                 สุรินทร์  และช่องทางจังหวัดอุบลราชธานี
                          สําหรับเหยื่อการค้ามนุษย์ที่เป็นชาวเวียตนามใช้เส้นทางผ่านลาว หรือกัมพูชาก่อน แล้วจึง
                   เดินทางมายังประเทศไทยผ่านทางจังหวัดนครพนมและช่องทางธรรมชาติอีกต่อหนึ่ง


                                                             ๖๙
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94