Page 66 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 66

บทที่ ๔

                                                      ผลการศึกษาวิจัย


                          จากวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย “การปูองกันและแก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย
                   และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน” ๔ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษารูปแบบของการค้ามนุษย์ใน
                   ยุคป๎จจุบันที่แฝงอยู่ในการนําเข้าและการส่งออกแรงงานไปต่างประเทศ (๒) เพื่อศึกษาป๎ญหา อุปสรรค ใน

                   การบังคับใช้กฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.
                   ๒๕๕๑ (๓) เพื่อหาแนวทางความร่วมมือในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศไทย
                   กับประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักร
                   กัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม และสหพันธรัฐมาเลเซียและ (๔)  เพื่อจัดทําข้อเสนอแนะเชิง
                   นโยบาย และการกําหนดมาตรการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านการค้ามนุษย์  ในบทนี้

                   จะนําเสนอผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ใน ๓ ข้อแรก ส่วนวัตถุประสงค์ข้อ ๔ จะนําเสนอในบทที่ ๕

                   ๔.๑ รูปแบบของการค้ามนุษย์ในยุคปัจจุบันที่แฝงอยู่ในการน าเข้าและการส่งออกแรงงานไป

                   ต่างประเทศ

                          การศึกษาในประเด็นนี้ ผู้วิจัยทําการศึกษานโยบายและมาตรการของกระทรวงแรงงานในการ
                   นําเข้าแรงงานต่างชาติ และการส่งออกแรงงานไทยไปต่างประเทศ จากนั้นลงพื้นที่ทําการศึกษามาตรการ

                   ตรวจคนเข้าเมืองของของสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองใน ๔ พื้นที่ คือ ด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สาย ด่าน
                   ตรวจคนเข้าเมืองแม่สอด ด่านตรวจคนเข้าเมืองช่องเม็ก และด่านตรวจคนเข้าเมืองปาดังเบซาร์ และ
                   ทําการศึกษาเจาะลึกกรณีศึกษา (Case Study) เหยื่อการค้ามนุษย์ รวมทั้งสิ้น ๓๑ กรณี แบ่งออกเป็น ๔
                   กลุ่ม คือ

                         กลุ่มที่ ๑  ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ที่มีเอกสารเดินทางถูกต้องจากประเทศสาธารณรัฐ
                   ประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม และสาธารณรัฐแห่ง
                   สหภาพเมียนมา ประเทศละ ๒ ราย รวม ๘ ราย
                          กลุ่มที่ ๒ ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ที่ไม่มีเอกสารเดินทางถูกต้องจากประเทศสาธารณรัฐ

                   ประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม และสาธารณรัฐแห่ง
                   สหภาพเมียนมา ประเทศละ ๒ ราย รวม ๘ ราย
                         กลุ่มที่ ๓ ชาวโรฮิงญา ที่อพยพเข้ามาประเทศไทยโดยความช่วยเหลือของขบวนการค้ามนุษย์ ๕

                   ราย
                         กลุ่มที่ ๔  คนไทยที่ถูกหลอกให้เดินทางไปทํางานหรือค้าประเวณีที่มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน ญี่ปุุน
                   และเกาหลีใต้ ประเทศละ ๒ ราย รวม ๑๐ ราย
                         ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
                          ๔.๑.๑ การน าเข้าแรงงานต่างชาติ

                          ผลการศึกษานโยบายและมาตรการนําเข้าแรงงานจากต่างชาติของประเทศไทยพบว่า รัฐบาลไทย
                   ได้ทําบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (Memorandum  of  Understanding  on
                   Employment  Corporation)  ระหว่างประเทศไทยกับเพื่อนบ้าน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตย

                                                             ๔๖
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71