Page 64 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 64

(๒) ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ที่ไม่มีเอกสารเดินทางถูกต้องจากประเทศสาธารณรัฐ
                              ประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม และ

                              สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาประเทศละ ๒ ราย รวม ๘ ราย
                         (๓)  ชาวโรฮิงญา ที่อพยพเข้ามาประเทศไทยโดยความช่วยเหลือของขบวนการค้ามนุษย์ ๕ ราย
                         (๔)  คนไทยที่ถูกหลอกให้เดินทางไปท างานหรือค้าประเวณีที่สหพันธรัฐมาเลเซีย  สิงคโปร์
                              ไต้หวัน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ประเทศละ ๒ ราย รวม ๑๐ ราย

                          การศึกษาเหยื่อการค้ามนุษย์มุ่งเน้นการหาข้อมูลเรื่องรูปแบบการจัดการของเครือข่ายการค้า
                   มนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย นายหน้า ผู้ค้า   ผู้น าพา ผู้รับ ผู้ควบคุมดูแล และลูกค้าที่ซื้อบริการ ทั้งนี้เพื่อตอบ
                   วัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ คือการศึกษารูปแบบของการค้ามนุษย์ในยุคปัจจุบันที่แฝงอยู่ในการน าเข้าและการ
                   ส่งออกแรงงานไปต่างประเทศ และวัตถุประสงค์ข้อ ๒ คือการศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการบังคับใช้

                   กฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (กรุณาดู
                   ภาคผนวก ๖)

                   ๓.๕  การเดินทางไปประเทศเพื่อนบ้าน


                          เพื่อเก็บข้อมูลด้านกฎหมายการปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย
                   ประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

                   สหพันธรัฐมาเลเซีย เกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคในการป้องกัน ปราบปรามการค้ามนุษย์ ความร่วมมือกับ
                   ประเทศไทยในการแก้ไขปัญหา อุปสรรคต่างๆ ทั้งนี้เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อ ๓ คือการหาแนวทางความ
                   ร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

                   ๓.๖  การวิเคราะห์ข้อมูล


                          น าข้อมูลจาก ๔ ส่วน คือ (๑) การศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๒) การสัมภาษณ์เจาะลึก
                   หน่วยงานราชการ และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง (๓) การเก็บข้อมูลในพื้นที่ชายแดนการศึกษาผู้ที่ตก

                   เป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ และ(๔) การเดินทางไปประเทศเพื่อนบ้านมาท าการวิเคราะห์และสังเคราะห์
                   เพื่อสรุปรูปแบบของการค้ามนุษย์ในยุคปัจจุบัน สรุปปัญหา อุปสรรคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติ
                   ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑  แล้วน ามาจัดท าร่างรายงานการวิจัยพร้อมข้อเสนอแนะ
                   เชิงนโยบายและมาตรการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านการค้ามนุษย์ต่อไป


                   ๓.๗ การจัดเวทีเสวนานโยบาย

                          เป็นการน าเสนอบทสรุปของการวิเคราะห์ข้อมูลและร่างข้อเสนอเชิงนโยบายของผู้วิจัยในเวที

                   เสวนา โดยเชิญผู้แทนของกระทรวงพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวง
                   แรงงาน กระทรวงมหาดไทย ส านักงานตรวจคนเข้าเมือง  ส านักงานต ารวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดี
                   พิเศษ และองค์กรภาคประชาสังคมมารับฟังข้อมูล และแสดงความคิดเห็นต่อการปรับปรุงนโยบายและ
                   มาตรการของหน่วยงานราชการให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น (กรุณาดูภาคผนวก ๘


                                                             ๔๔
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69