Page 63 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 63
๓.๒ การสัมภาษณ์เจาะลึก
ใช้ในการศึกษาบทบาท ข้อจ ากัด และปัญหาอุปสรรคของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน
และปราบปรามการค้ามนุษย์ ทั้งภาครัฐ และภาคประชาสังคม
หน่วยงานภาครัฐที่ท าการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย ๕ หน่วยงาน คือ (๑) ส านักงานตรวจ
คนเข้าเมือง (๒) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (๓) กระทรวงการต่างประเทศ (๔)
กระทรวงแรงงาน (๕) กระทรวงมหาดไทย (๖) ส านักงานต ารวจแห่งชาติ (๗) กรมสอบสวนคดีพิเศษ และ
(๘) ส านักงานคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน
หน่วยงานภาคประชาสังคม ประกอบด้วย (๑) มูลนิธิกระจกเงา (๒) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชน
และการพัฒนา (๓) มูลนิธิ เครือข่ายส่งเสริคุณภาพชีวิตแรงงาน( LPN) (๔) ศูนย์พัฒนาการศึกษาเพื่อลูก
หญิงและชุมชน จ. เชียงราย (๕) สภาทนายความ (๖) มูลนิธิผู้หญิง (๗) สมาคมโรฮิงญา แห่งประเทศ
ไทย (๘) มูลนิธิเพื่อยุติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก (๙) มูลนิธิพิทักษ์สตรี (๑๐) องค์กรระหว่าง
ประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน(International Organization for Migration - IOM)
การศึกษาดังกล่าวเพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อ ๑ คือ การศึกษารูปแบบของการค้ามนุษย์ในยุค
ปัจจุบันที่แฝงอยู่ในการน าเข้าและการส่งออกแรงงานไปต่างประเทศ และวัตถุประสงค์ข้อ ๒ คือการศึกษา
ปัญหา อุปสรรค ในการบังคับใช้กฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม
การค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
๓.๓ การเก็บข้อมูลในพื้นที่ชายแดน
ท าการเก็บข้อมูลบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมือง ๔ แห่ง ได้แก่ (๑) ด่านตรวจคนเข้าเมืองอ าเภอแม่สาย
จังหวัดเชียงราย (๒) ด่านตรวจคนเข้าเมืองอ าเภอแม่สอด จังหวัดตาก (๓) ด่านตรวจคนเข้าเมืองช่องเม็ก
จังหวัดอุบลราชธานี (๔) ด่านตรวจคนเข้าเมืองอ าเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ก ากับการตรวจคนเข้าเมืองหรือนายต ารวจที่ได้รับการ
มอบหมายให้เป็นผู้ให้ข้อมูล การศึกษาระบบ และวิธีการกลั่นกรองคนเข้าเมืองของแต่ละด่าน และการ
สังเกตการเข้าออกของประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ คือการศึกษา
รูปแบบของการค้ามนุษย์ในยุคปัจจุบันที่แฝงอยู่ในการน าเข้าและการส่งออกแรงงานไปต่างประเทศ
๓.๔ การศึกษาผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์
ท าการศึกษาเหยื่อการค้ามนุษย์จากประเทศเพื่อนบ้านทั้งที่มีเอกสารเดินทางถูกต้อง (หนังสือ
เดินทางหรือบัตรผ่านแดน) และไม่มีเอกสารการเดินทาง แต่มีนายหน้าพาหลบหนีเข้ามาโดยผิดกฎหมาย
และเหยื่อคนไทย ที่มีเอกสารเดินทางถูกต้อง ถูกหลอกให้เดินทางไปท างานหรือค้าประเวณีที่ต่างประเทศ
รวมทั้งสิ้น ๓๑ ราย ดังนี้
(๑) ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ที่มีเอกสารเดินทางถูกต้องจากประเทศสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม และ
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประเทศละ ๒ ราย รวม ๘ ราย
๔๓