Page 62 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 62
บทที่ ๓
การด าเนินการศึกษาวิจัย
การวิจัยเรื่อง “การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยและความร่วมมือกับ
ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน” ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Methodology) โดย
การศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง (Literature Review) การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) การ
เก็บข้อมูลในพื้นที่ชายแดน(Filed Research) การศึกษาผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์(Case Study)
และการเดินทางไปประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเก็บข้อมูลด้านกฎหมายการปราบปรามการค้ามนุษย์และความ
ร่วมมือกับประเทศไทย ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
๓.๑ การศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากการค้ามนุษย์เป็นปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การวิจัยครั้งนี้จึงท าการศึกษากฎหมาย
ระหว่างประเทศโดยเน้นไปที่อนุสัญญาของสหประชาชาติและพิธีสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษา
กฎหมายของประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน ดังนี้
๑. อนุสัญญาสหประชาชาติต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร
๒. พิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก
๓. พิธีสารเพื่อบัญญัติต่อต้านการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานทางบก ทางทะเลและทาง
อากาศ
๔. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
๕. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. ๒๕๓๙
๖. พระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๐
๗. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๔ ) พ.ศ. ๒๕๔๐
๘. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ.
๒๕๔๒
๙. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒
๑๐. บันทึกข้อตกลงเรื่องแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ
ด าเนินการกรณีหญิงและเด็กที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๔๒
๑๑. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๒. กฎหมายการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สหพันธรัฐมาเลเซีย
๔๒