Page 40 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 40

๒.๓ แนวคิดสิทธิมนุษยชนกับการค้ามนุษย์


                          ๒.๓.๑  มาตรฐานสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
                          สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิของคนทุกคนที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดและเป็นสากล ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ
                   แหล่งก าเนิด เพศ อายุ สีผิว ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หรือฐานะทางสังคม สิทธิเหล่านี้ท าให้คนสามารถ
                   พัฒนาได้อย่างเต็มที่และสามารถใช้คุณสมบัติของความเป็นมนุษย์ มโนคติและสามารถตอบสนองต่อความ

                   ต้องการของตนเองได้  องค์การสหประชาชาติได้ให้ความส าคัญกับปัญหานี้เป็นอย่างมากจึงได้จัดท า
                   ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights – UDHR) ขึ้นเพื่อเป็น
                   หลักประกันสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของปัจเจกชนทั่วทุกแห่ง ในปี ๒๔๙๐ (๑๙๔๗) ได้มีการจัดท าร่าง
                   ขึ้นโดยคณะกรรมการภายใต้คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The Commission on

                   Human  Rights)  โดยมีนาง Eleanor  Roosevelt  ภรรยาหม้ายของอดีตประธานาธิบดี Franklin  D.
                   Roosevelt เป็นประธานในการร่าง UDHR
                          วันที่ ๑๐ ธันวาคม  ๒๔๙๑ (๑๙๔๘) ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองปฏิญญาสากล
                   ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนโดยการลงคะแนนเสียง ซึ่ง ๔๘ ประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้ลงคะแนนเสียงให้การ

                   สนับสนุน ๘ ประเทศงดออกเสียง และไม่มีประเทศใดที่ลงคะแนนเสียงคัดค้าน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ
                   มนุษยชนนี้ถือเป็นมาตรฐานของสิทธิมนุษยชนฉบับแรก และเป็นรากฐานของกฎหมายสิทธิมนุษยชน
                   ระหว่างประเทศและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลทุกฉบับ โดยข้อก าหนดในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ

                   มนุษยชนที่สามารถน ามาประยุกต์ใช้กับเรื่องการค้ามนุษย์อยู่ในข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ และข้อ ๑๓ ดังนี้
                          ข้อ ๓: ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งบุคคล
                          ข้อ ๔: บุคคลใดจะตกอยู่ในความเป็นทาส หรือสภาวะจ ายอมไม่ได้ ทั้งนี้ ห้ามความเป็นทาส และ
                   การค้าทาสทุกรูปแบบ
                          ข้อ ๕: บุคคลใดจะถูกระท าการทรมานหรือการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม

                   หรือย่ ายีศักดิ์ศรีไม่ได้
                          ข้อ ๑๓:  (๑)  ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการเคลื่อนย้ายและการอยู่อาศัยภายในพรมแดนของ
                                       แต่ละรัฐ และ

                                   (๒)  ทุกคนมีสิทธิที่จะออกนอกประเทศใด รวมทั้งประเทศของตนเองและสิทธิที่จะ
                                       กลับสู่ประเทศตน

                          ๒.๓.๒  กติการะหว่างประเทศ และอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์

                          นอกจากการมีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในปี ๑๙๔๘ แล้ว องค์การสหประชาชาติยังได้
                   ออกกติการะหว่างประเทศ และอนุสัญญาอีกหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการค้ามนุษย์ ได้แก่
                                 (๑) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
                   (International Covenant on Culture and Political Rights)

                                 กติการะหว่างประเทศฉบับนี้ เป็นสนธิสัญญาแบบพหุภาคีที่สมัชชาใหญ่แห่ง
                   สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม  ๒๕๐๙ และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๑๙ โดย
                   ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญานี้โดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ ๒๙  ตุลาคม.  ๒๕๓๙  และมีผล




                                                             ๒๐
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45