Page 27 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 27
จากแผนภูมิสถิติแสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ค้ามนุษย์ด้านแสวงหาประโยชน์จากการบังคับ
ค้าประเวณี มีการพยายามจับกุมอย่างต่อเนื่องในระยะ ๒ ปีที่ผ่านมา ท าให้ทางคดีมีความสลับซับซ้อน
การจับกุมยากขึ้น ผู้เสียหายส่วนใหญ่เป็นหญิงไทยและหญิงลาว อายุต่ ากว่า ๑๘ ปี บางกรณีมีการใช้
เอกสารหนังสือเดินทางและเอกสารประจ าตัวของหญิงชาวลาวที่มีอายุเกินกว่า ๑๘ ปี เพื่อหลีกเลี่ยง การ
ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และการถูกตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่โดยเจ้าของสถานบริการเปิดกิจการ
อื่น เช่นร้านคาราโอเกะเล็กๆ ร้านนวดแผนโบราณเพื่อบังหน้าและให้พนักงานร้านทั้งที่เป็นหญิงไทยและ
หญิงลาวไปค้าประเวณีโดยให้ออกไปใช้บริการที่โรงแรมและจ่ายเงินค่าซื้อบริการโดยตรง เพื่อให้เจ้าของ
สถานบริการมีข้อต่อสู้ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี จากการด าเนินการเชิงรุกมีการขยายผล
สืบสวนสอบสวน ประกอบกับส านักงานต ารวจแห่งชาติ มีมาตรการทางการปกครอง ท าให้ปี ๒๕๕๗ สถิติ
คดีค้ามนุษย์ลดลงเหลือ ๑๘๖ คดี
สถานการณ์ค้ามนุษย์ด้านแสวงหาประโยชน์จากการน าคนมาขอทานพบว่า ผู้เสียหายส่วนใหญ่
เป็นเด็กชายชาวกัมพูชาที่อายุต่ ากว่า ๑๕ ปี หลบหนีเข้ามาในประเทศไทยโดยผิดกฎหมายพร้อมกับบิดา
มารดาหรือญาติพี่น้อง และถูกบิดา มารดาหรือผู้ใกล้ชิดน าไปแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการขอทาน
บริเวณสถานที่ท่องเที่ยว
สถานการณ์ค้ามนุษย์ด้านแสวงหาประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงาน ส่วนใหญ่พบว่าเจ้าของเรือ
ท าสัญญาให้ไต้ก๋งเช่าเรือเพื่อให้พ้นจากความรับผิดชอบ ในการออกเรือไม่มีการแจ้งเรือออก - เข้าท่า
รวมทั้งเมื่อเดินทางออกไปท าการประมงนอกน่านน้ า ไม่มีการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับเรือ ผู้โดยสาร และ
ลูกเรือ ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ในปี
๒๕๕๗ มีจ านวนคดีค้ามนุษย์การบังคับใช้แรงงาน ๒๕ คดี บังคับใช้แรงงานในเรือประมง จ านวน ๗ คดี
ผู้เสียหายส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมา อายุมากกว่า ๑๘ ปีขึ้นไป
เป็นที่น่าสังเกตว่า สถิติคดีค้ามนุษย์ที่เริ่มสอบสวนในปี ๒๕๕๗ มีจ านวนลดลง ซึ่งกองบังคับการ
ปราบปรามการค้ามนุษย์ (บก.ปคม.) อธิบายว่า เนื่องจากสาเหตุสามประการคือ ประการแรก ส านักงาน
ต ารวจแห่งชาติได้มีนโยบายและมาตรการเชิงรุกให้เจ้าหน้าที่ต ารวจออกตรวจสถานที่เสี่ยง ระดมกวาดล้าง
และจับกุมผู้กระท าผิดฐานค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง โดยในปี ๒๕๕๗ มุ่งเน้นตรวจสถานที่เสี่ยงให้มีจ านวน
มากกว่าในปี ๒๕๕๖ ประการที่สอง ส านักงานต ารวจแห่งชาติมีมาตรการที่เคร่งครัดในการออกค าสั่งให้
เจ้าหน้าที่ต ารวจที่ปล่อยปละละเลยให้มีการกระท าผิดฐานค้ามนุษย์เกิดขึ้นออกจากพื้นที่ที่รับผิดชอบ
รวมทั้งด าเนินการทางวินัยหากพบว่ามีความบกพร่องจากการปฏิบัติหน้าที่ และประการที่สาม ความ
ร่วมมือกันในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และ เอกชนในรูปแบบของทีมสหวิชาชีพ รวมถึงการ
ให้ความรู้ในเรื่องของการค้ามนุษย์ กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ และ แรงงาน
กลุ่มเสี่ยง
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็ยังคงเป็นทั้งประเทศต้นทาง ทางผ่าน และปลายทาง อีกทั้งรูปแบบ
การค้ามนุษย์ก็มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น จึงมีความจ าเป็นที่ต้องท าการศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางปูองกัน
และปราบปรามการค้ามนุษย์ในประเทศไทย รวมทั้งการแสวงหาแนวทางความร่วมมือกับประเทศเพื่อน
บ้านเพื่อขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
๗