Page 24 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 24

มาตรฐาน อ้างอิงข้อกฎหมายไม่ครบตามพฤติการณ์ทั้งหมด ดังนั้น คดีค้ามนุษย์จึงถูกตัดตอนในชั้น
                   พนักงานสอบสวนหลายกรณี

                          ประการที่สาม เขตอ านาจสอบสวนคดีค้ามนุษย์ เนื่องด้วยการกระท าความผิดฐานค้ามนุษย์   มี
                   กระบวนการที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนทั้งกระบวนการนายหน้า กระบวนการน าพา จนถึงการแสวงหา
                   ประโยชน์ในสถานประกอบการ การกระท าความผิดจึงเกิดขึ้นในระหว่างการเดินทางและในหลายพื้นที่
                   เกี่ยวเนื่องกันหรือบางกรณีมีเส้นทางไปไกลถึงต่างประเทศ จึงเป็นที่มาของปัญหาส าคัญในการที่พนักงาน

                   สอบสวนบ่ายเบี่ยงการรับแจ้งความโดยอ้างเขตอ านาจสอบสวนและสถานที่เกิดเหตุ จนเกิดการผลักภาระ
                   และความรับผิดชอบไปยังท้องที่อื่นๆ จนผู้เสียหายไม่ประสงค์จะด าเนินการต่อ เพราะต้องเสียเวลาและ
                   เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปมา
                          นอกจากนี้คดีค้ามนุษย์ส่วนหนึ่งต้องด าเนินการในเขตอ านาจสอบสวนที่การกระท าความผิดได้

                   เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายแก่ผู้เสียหาย เนื่องจากในพื้นที่มีปัญหาเรื่องอิทธิพล ประกอบกับมาตรการ
                   คุ้มครองพยานยังไม่เป็นรูปธรรมเท่าที่ควร ผู้เสียหายจึงไม่อยากที่จะร้องทุกข์แจ้งความ เพราะเกรงว่าจะ
                   ไม่ได้รับความปลอดภัย
                          ส่วนกรณีที่การกระท าความผิดฐานค้ามนุษย์ตามกฎหมายประเทศไทยเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร

                   หรือใช้ประเทศไทยเป็นต้นทางหรือทางผ่านนั้น พนักงานสอบสวนต้องส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดชี้ขาดและ
                   มอบอ านาจการสอบสวน ซึ่งบางกรณีใช้ระยะเวลานานกว่าที่อัยการสูงสุดจะมีค าสั่งลงมา ท าให้ผู้เสียหาย
                   จ านวนมาก ถอดใจและไม่ประสงค์จะด าเนินคดีต่อ เนื่องจากระยะเวลาด าเนินคดีที่ยาวนาน และต้องการ

                   กลับไปยังภูมิล าเนาหรือท างานมากกว่ารอกระบวนการเสร็จสิ้น ท าให้คดีค้ามนุษย์หลายคดีจบลงในชั้น
                   พนักงานสอบสวน
                          ประการที่สี่ การตัดตอนพฤติกรรมการกระท าความผิด  ปัญหาที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งในการ
                   น าผู้กระท าความผิดมาลงโทษนั้นก็คือปัญหาความซับซ้อนของรูปคดีและการที่มีผู้กระท าความผิดหลายคน
                   และหลายพื้นที่ กล่าวคือปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคแรงงานประมงนั้น มีขั้นตอน

                   และกระบวนการล่อลวงและน าพาจากหลายพื้นที่และมีนายหน้าหลายชั้น ท าให้มีผู้กระท าความผิด ผู้ร่วม
                   กระท าความผิด ผู้สมรู้ร่วมคิดในการกระท าความผิด และตัวการในการกระท าความผิดหลายคน แต่ใน
                   แนวทางการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจ านวนมากมักตัดผู้ต้องสงสัยหรือผู้ร่วมขบวนการที่เกี่ยวข้อง

                   ออกไปเกือบทั้งหมด โดยเลือกที่จะด าเนินคดีกับผู้กระท าความผิดหลักเพียงคนเดียว ทั้งๆที่หลายกรณี
                   ผู้เสียหายให้การว่ามีการล่อลวงผู้เสียหายจากพื้นที่อื่น จากนั้นถูกน าไปกักขัง ก่อนถูกนายหน้าส่งต่อให้
                   ท างานในสถานประกอบการ ซึ่งจากพฤติการณ์มีผู้กระท าความผิดหลายคน   ด้วยองค์ประกอบในการ
                   กระท าความผิดฐานค้ามนุษย์ มีผู้ร่วมกระท าความผิดหลายคน  และเหตุแห่งการกระท าความผิดเกิดขึ้น

                   หลายพื้นที่  เป็นผลให้พนักงานสอบสวนตัดตอน กระบวนการเหลือเพียงการกระท าความผิดที่เกิดขึ้นใน
                   พื้นที่ของตัวเองเท่านั้น  เพราะง่ายแก่การสืบสวนสอบสวน การปฏิบัติของพนักงานสอบสวนในลักษณะนี้
                   ท าให้วงจรการค้ามนุษย์ ไม่ถูกลงโทษตามกฎหมายและยังลอยนวลอยู่
                            ประการที่ห้า การช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการถูกค้ามนุษย์  แม้ว่าตาม

                   พระราชบัญญัติปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ จะกล่าวถึงแนวทางและมาตรฐานการ
                   ช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการถูกค้ามนุษย์ ก็ตามแต่ในแนวทางปฏิบัติก็พบปัญหา
                   และอุปสรรคพอสมควร  กล่าวคือ ปัจจุบันมีสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพทั้งบ้านชายและบ้านหญิง
                   เพียงไม่กี่แห่ง และจ านวนบุคลากรก็ยังไม่เพียงพอต่อการดูแลผู้รับบริการที่เข้ารับการคุ้มครอง สถานคุ้มครอง


                                                              ๔
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29