Page 22 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 22
ภูมิภาคอาเซียน เป็นภูมิภาคที่ประสบปัญหาการค้ามนุษย์มากที่สุดภูมิภาคหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะ
เป็นการค้ามนุษย์ภายในภูมิภาค ปัจจัยส าคัญที่ท าให้การค้ามนุษย์เติบโตมากในภูมิภาคนี้ คือการเปิด
พรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ าโขงท าให้การเดินทางข้ามแดนเป็นไปได้สะดวกขึ้น ในปัจจุบัน ประเทศไทย
มีภาพลักษณ์ด้านการค้ามนุษย์ที่เป็นทั้งต้นทาง คือเป็นแหล่งก าเนิดของเด็กและผู้หญิงที่จะถูกส่งไปค้าใน
ต่างประเทศ เป็นทางผ่าน คือเป็นเส้นทางในการน าเด็กและผู้หญิงจากประเทศอื่นเข้ามาและส่งต่อไปยัง
อีกประเทศหนึ่ง และเป็นปลายทาง คือเป็นประเทศที่มีการน าคนจากที่อื่นเข้ามาพักและแสวงหาประโยชน์
กลุ่มเปูาหมายที่ถูกล่อลวงคือ สตรีและเด็ก
ในการประชุมผู้น าอาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ ในปี ๒๕๔๐ (๑๙๙๗) ผู้น าอาเซียนได้กล่าวถึง
ปัญหาการค้าสตรีและเด็กเป็นครั้งแรก และได้เรียกร้องให้มีมาตรการที่เข้มงวดในการต่อต้านอาชญากรรม
ข้ามชาติ ในการประชุมครั้งนั้นได้มีการรับรอง วิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๐ ซึ่งก าหนดให้มีแนวปฏิบัติ และ
มาตรการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาของภูมิภาคซึ่งรวมถึงการค้าสตรีและเด็ก ในปี ๒๕๔๑ (๑๙๙๘)
ผู้น าอาเซียนได้รับรองแผนปฏิบัติการฮานอย เพื่อเป็นแผนแม่บทส าหรับอาเซียนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและ
สังคมภายหลังวิกฤตการณ์ทางการเงิน โดยแผนดังกล่าวเรียกร้องให้มีการเสริมสร้างความร่วมมือในการ
ต่อต้านการค้าและการกระท ารุนแรงต่อสตรีและเด็ก
เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๕ มีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ
(Senior Officials Meeting on Transnational Crime – SOMTC) ครั้งที่ ๒ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ที่
ประชุมเห็นชอบ แผนการด าเนินงานตามแผนปฏิบัติการเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ (Work
Programme to Implement the ASEAN Plan of Action to Combat Transnational Crime) มี
การระบุความร่วมมือในการ ต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ๘ ด้าน ซึ่งการต่อต้านการค้ามนุษย์ เป็นหนึ่งใน
ความร่วมมือ ๘ ด้านนั้น โดยได้มีการระบุถึงความร่วมมือในด้านต่างๆ อาทิ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความ
ร่วมมือทางด้านกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย การฝึกอบรม การเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กร
และความร่วมมือกับ ประเทศภายนอก เป็นต้น
ต่อมาที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๐ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๗ ที่นครเวียงจันทน์ ได้ให้
การ รับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก
(ASEAN Declaration Against Trafficking in Persons Particularly Women and Children) ซึ่ง
ก าหนดแนวทางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองของประเทศอาเซียน และได้รับรอง
แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientaine Action Programme – VAP) ซึ่งประกอบด้วยแผนการ
ด าเนินงานใน ๓ เสาหลักอาเซียน (ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ
ประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน) ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการดังกล่าวยังได้ครอบคลุมถึงการส่งเสริมความ
ร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้วย
เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๑ ที่ประชุม SOMTC ครั้งที่ ๘ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย
ได้เห็นชอบในหลักการที่จะร่วมกันพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะจัดท าอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการค้า
มนุษย์ (ASEAN Convention on Trafficking in Persons) อันเป็นข้อเสนอของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
โดย มอบหมายให้สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในฐานะ Lead Shepherd ด้านการค้ามนุษย์พิจารณาจัดการ
ประชุมเพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดท าอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการค้ามนุษย์ข้างต้น
ต่อมา ในที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (SOMTC) ครั้งที่ ๙
ระหว่างวันที่ ๓๐ มิถุนายน – ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ณ เมืองเนปิดอว์ สหภาพเมียนมา ได้มีมติ ให้ส่ง
๒