Page 26 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 26
การค้ามนุษย์ ใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ จึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องเร่งแก้ไขปัญหา
การค้ามนุษย์อย่างจริงจัง
ส าหรับสถิติการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ข้อมูลจากกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์
(บก.ปคม.) โดย พ.ต.ท.คมสันต์ กันหา เปิดเผยว่า ในปี ๒๕๕๗ มีผู้เสียหายคดีค้ามนุษย์ รวมทั้งสิ้น
จ านวน ๓๘๑ คน เป็นชาย จ านวน ๙๓ คน เป็นหญิง จ านวน ๒๘๘ คน เป็นคนไทย จ านวน ๒๑๒
คน คนลาว ๖๙ คน เมียนมา ๖๙ คน กัมพูชา ๒๔ คน และอื่นๆ ๗ คน ผู้เสียหายจากการแสวงหา
ประโยชน์จากการค้าประเวณีส่วนใหญ่เป็นคนไทย จากการบังคับใช้แรงงานส่วนใหญ่เป็นคนเมียนมา
จากการน าคนมาขอทานส่วนใหญ่เป็นคนกัมพูชา และผู้เสียหายส่วนใหญ่ อายุต่ ากว่า ๑๘ ปี บุคคลที่
ติดต่อผู้เสียหายเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ ส่วนใหญ่เป็นนายหน้าที่ผู้เสียหายไม่รู้จักมาก่อน สถานที่ติดต่อ
ส่วนใหญ่เป็นสถานที่ท างานหรือบ้านเกิดของผู้เสียหาย เมืองชายแดนในประเทศต้นทาง เมืองชายแดนใน
ประเทศไทย และศูนย์กลางการเดินทางในประเทศไทย ส่วนใหญ่ต้องการย้ายถิ่นเพื่อมาท างานหารายได้
โดยผู้เสียหายชาวเมียนมาส่วนใหญ่ใช้เส้นทางจุดผ่านแดน อ าเภอแม่สอด จังหวัดตาก จังหวัดระนอง และ
ด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี ผู้เสียหายชาวลาวใช้เส้นทางสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จังหวัด
หนองคาย ด่านช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี ด่านนครพนม และด่านจังหวัดมุกดาหาร และผู้เสียหายชาว
กัมพูชาใช้เส้นทางจุดผ่านแดน ด่านอรัญประเทศ ปอยเปต จังหวัดสระแก้ว ช่องผ่อนปรนบึงตระกูน
จังหวัดสระแก้ว
สถิติค้ามนุษย์ปี ๒๕๕๕ , ๒๕๕๖ และ ๒๕๕๗
๕๒๐
๒๒๖
๑๕๔
๘๐
๔๔ ๓๖ ๗๔
๒๕
๗
รวม ๓๐๖ ๖๗๔ ๑๘๖
ที่มา : พ.ต.ท.คมสันต์ กันหา กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (บก.ปคม.).
สืบค้นจาก http://110.164.64.29/p9/images/stories/ppt/10/3.ppt
๖