Page 25 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 25
บางแห่งเป็นบ้านที่เปิดใหม่ ยังไม่มีพื้นที่เป็นสัดส่วนต้องเช่าบ้านเป็นที่ท าการสถานคุ้มครองซึ่งไม่เหมาะสม
ต่อการคุ้มครองและดูแลผู้เสียหาย นอกจากนี้ กรณีเมื่อผู้เสียหายกลับภูมิล าเนา มีหลายหน่วยงานเข้ามา
เกี่ยวข้องทั้งจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงแรงงาน โดย
หน่วยงานที่จ าเป็นต้องเข้ามาดูแลผู้เสียหายในเบื้องต้น คือส านักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์จังหวัด แต่กระนั้นก็ยังพบว่าในหลายกรณีขาดความเป็นเอกภาพในการเป็นเจ้าภาพดูแล
ผู้เสียหาย การประสานงานระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ ภูมิล าเนาของผู้เสียหาย มิได้มีระบบในการดึง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมช่วยเหลือผู้เสียหายอย่างพร้อมเพรียง กล่าว คือ มักจะเข้าท างานกับ
ผู้เสียหายเพียงหน่วยงานเดียว โดยไม่มีการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมช่วยเหลือด้วย ซึ่ง
จะเป็นผลในระยะยาวว่าหน่วยงานเช่น ส านักงานจัดหางานจังหวัด ไม่ทราบสถานการณ์การค้ามนุษย์ใน
พื้นที่ เนื่องด้วยไม่ปรากฏข้อมูลของผู้เสียหายในพื้นที่เลย ทั้งที่หน่วยงานอื่นในพื้นที่อาจจะมีข้อมูลของ
ผู้เสียหายอยู่ก็ตาม การดูแลผู้เสียหายในภูมิล าเนาจึงขาดความสม่ าเสมอ และผู้เสียหายมักถูกทอดทิ้งใน
การติดตามผลการฟื้นฟู
อีกประเด็นหนึ่งคือปัญหาเรื่องการคุ้มครองผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยการค้ามนุษย์ ตาม
มาตรา ๓๗ ซึ่ง ก าหนดให้เหยื่อการค้ามนุษย์ซึ่งเป็นผู้เสียหายสามารถอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการ
ชั่วคราว และสามารถท างานได้ ๒ ประเภท คือ งานก่อสร้างและงานรับใช้ภายในบ้าน ซึ่งในทางปฏิบัติยัง
มีปัญหาความขัดแย้งของกฎหมายว่าด้วยการค้ามนุษย์กับกฎหมายของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวง
แรงงาน จึงท าให้ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการค้ามนุษย์อย่างเต็มที่ได้
นอกจากนี้ยังมี ปัญหาการส่งเหยื่อของการค้ามนุษย์กลับประเทศต้นทาง ซึ่งผลการวิจัยที่เปิดเผย
ในปี ๒๕๕๓ ของโครงการความร่วมมือหลายหน่วยงานของสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์
(UN Inter-Agency Project on Human Trafficking: UNIAP) พบว่า ในแต่ละปี ทางการไทยส่งตัวเหยื่อ
ค้ามนุษย์ชาวกัมพูชากว่า ๒๓,๐๐๐ คนกลับประเทศ ในท านองเดียวกัน ทางการลาวรายงานว่า ใน
จ านวนชาวลาวหลายพันคนที่ถูกทางการไทยส่งตัวกลับประเทศมีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ชาวลาว
ประมาณ ๕๐ - ๑๐๐ คนรวมอยู่ด้วย นักค้ามนุษย์ (รวมทั้งนายหน้าหาแรงงาน) มีทั้งที่เป็นคนไทยและคน
ต่างชาติและท างานร่วมกันเป็นเครือข่ายโดยร่วมมือกับนายจ้างและบางครั้งก็ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับ
ใช้กฎหมายด้วย การส่งตัวเหยื่อการค้ามนุษย์ยังไม่เป็นระบบ ในบรรดาผู้ที่พยายามกลับประเทศตนเพื่อ
ความปลอดภัยนั้น กลุ่มแรงงานที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและกลุ่มที่ถูกนายจ้างยึดเอกสารมักจะถูกเจ้าหน้าที่ฝุาย
บังคับใช้กฎหมายและนายหน้ากรรโชกเงินเพื่ออ านวยความสะดวกในการกลับประเทศ และเมื่อได้กลับ
ประเทศต้นทางแล้วก็ต้องเผชิญวงจรที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการท างานแบบแรงงานขัดหนี้และการถูกแสวง
ประโยชน์รูปแบบอื่นๆ
ปัญหา อุปสรรคในการปูองกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยดังกล่าว ท าให้
ประเทศไทยไม่ประสบความส าเร็จเท่าที่ควร รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงประเมินประเทศไทยให้อยู่ในกลุ่ม
ประเทศ Tier ๒ – Watch List เป็นเวลา ๓ ปีต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๕๓, ๒๕๕๔, ๒๕๕๕ โดยถูกเตือนว่า
ยังไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ าว่าด้วยการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ และในปี ๒๕๕๖ และ ๒๕๕๗
รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ประเมินประเทศไทยให้อยู่ในกลุ่มประเทศ Tier ๓ ซึ่งเป็นอันดับต่ าที่สุด หมายถึง
ประเทศไทยมีปัญหาการค้ามนุษย์รุนแรงที่สุดที่ไม่อาจยอมรับได้ เป็นผลให้ประเทศไทย มีโอกาสถูกตัด
ความช่วยเหลือผ่านสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่นกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลก
และยังมีผลในเชิงจิตวิทยาที่จะถูกประเทศคู่แข่งทางการค้าน าไปขยายผลว่าอุตสาหกรรมการค้าของไทยมี
๕