Page 21 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 21
บทที่ ๑
บทน า
๑.๑ ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา
การค้ามนุษย์ (Human Trafficking) เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดศักดิ์ศรีของความเป็น
มนุษย์อย่างร้ายแรง เป็นปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติที่ส าคัญในระดับสากล เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ
ผลประโยชน์และวิถีชีวิตของผู้คนและสังคมในหลายระดับ และมีความเกี่ยวพันกับหลายประเทศทั่วทุก
ภูมิภาคของโลก มีผู้คนนับล้านคนโดยเฉพาะเด็กและสตรี ต้องถูกแสวงหาประโยชน์และถูกละเมิดสิทธิ
มนุษยชนมากมายได้รับความเสียหายทั้งร่างกาย จิตใจ โอกาส อนาคต รวมถึงเกิดความเสียหายต่อบุคคล
รอบข้าง ชุมชน และสังคม ซึ่งไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ การค้ามนุษย์ ส่วนใหญ่ปรากฏในรูปแบบที่ผ่าน
นายหน้าหรือเอเย่นต์ และผ่านการบริการทางอินเตอร์เน็ต เพื่อการค้าประเวณีและเพื่อการค้าแรงงาน
ประชาคมโลกในยุคปัจจุบันมีความตื่นตัวเรื่องการค้ามนุษย์และไม่ต้องการเห็นความเติบโตของ
ขบวนการค้ามนุษย์ องค์การสหประชาชาติได้ให้ความส าคัญกับการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
เป็นอย่างมาก ในพิธีสารเพื่อปูองกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก
เพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ได้ระบุความหมายของการค้า
มนุษย์ ไว้ว่า
“การค้ามนุษย์ หมายถึง การจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัย หรือการรับไว้ซึ่ง
บุคคลด้วยวิธีการขู่เข็ญ หรือด้วยการใช้ก าลัง หรือด้วยการบีบบังคับในรูปแบบ อื่นใด ด้วยการลักพาตัว
ด้วยการฉ้อโกง ด้วยการหลอกลวง ด้วยการใช้อ านาจโดยมิชอบ หรือด้วยการใช้สถานะความเสี่ยงภัยจาก
การค้ามนุษย์โดยมิชอบ หรือมีการให้ หรือรับเงินหรือผลประโยชน์เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของบุคคลผู้
มีอ านาจ ควบคุมบุคคลอื่น เพื่อความมุ่งประสงค์ในการแสวงประโยชน์...”
การเติบโตของขบวนการค้ามนุษย์ในทุกภูมิภาคของโลกเกิดจากพัฒนาการด้านเศรษฐกิจในยุค
โลกาภิวัตน์ ที่ท าให้เกิดภาวะโลกไร้พรมแดน ความเจริญก้าวหน้าของเส้นทางคมนาคมและเทคโนโลยี
ข้อมูลข่าวสาร ท าให้เกิดเครือข่ายธุรกิจผิดกฎหมายข้ามพรหมแดน ปัจจุบันกระบวนการค้ามนุษย์มีความ
ซับซ้อน หลากหลายมิติมากยิ่งขึ้น เช่น การบังคับใช้แรงงานทาสบนเรือประมง การเป็นคนใช้ในบ้าน การ
รับจ้างแต่งงาน การบังคับขอทาน การบังคับให้ขายบริการทางเพศ ฯลฯ ประชาชนของแทบทุกประเทศ
ล้วนตกเป็นเหยื่อ โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ พบว่า มีแนวโน้มในการถูกหลอกลวงมากขึ้นทุกปี ลักษณะ
เหล่านี้ถือเป็นการ "ค้าทาส" ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับ
ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ
ในทวีปเอเชีย จากการวิจัยขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เรื่อง Demand Side of
Human Trafficking in Asia: Empirical Findings (๒๐๐๖) พบว่า การค้ามนุษย์ในทวีปเอเชียมีความ
เชื่อมโยงกับกิจการที่ผิดกฎหมายหลายกิจการ ได้แก่ แรงงานเด็ก ในโรงงานขนาดเล็ก การขายบริการทาง
เพศ การเป็นคนใช้ในบ้าน การขอทาน เมื่อศึกษาด้านความต้องการ (Demand Side) พบว่า มีความ
ต้องการแรงงานดังกล่าวอยู่สูงมาก
๑