Page 192 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 192

ข้อจ ากัด กล่าวคือ มีแรงงานอพยพจ านวนมาก โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยของเมียนมา  อาทิ คน
                   กะเหรี่ยง คนไทใหญ่ ที่ไม่มีบัตรหรือเอกสารที่ระบุว่าคนเมียนมา ส่งผลให้รัฐบาลเมียนมา ไม่รับรอง

                   จึงจัดท าโครงการพิสูจน์สัญชาติส าหรับแรงงานต่างด้าวขึ้น โครงการดังกล่าวนี้ เป็นโครงการที่จัดขึ้น
                   เพื่อให้สอดรับกับการท า MOU ดังกล่าวของรัฐบาลไทยและรัฐบาลเมียนมา

                          (๕) ข้อตกลงระหว่างประเทศไทยกับสหพันธรัฐมาเลเซีย ไม่มีข้อตกลงว่าด้วยการต่อต้าน

                   การค้ามนุษย์แบบทวิภาคีเช่นเดียวกับ ๔ ประเทศข้างต้น  ความร่วมมือระหว่างไทยกับสหพันธรัฐ
                   มาเลเซียจึงอยู่ภายใต้ข้อตกลงแบบพหุภาคีในระดับอาเซียน ได้แก่ ASEAN  Declaration  Against
                   Trafficking  in  Persons  Particularly  Women  and  Children  ปี ๒๕๔๗  แต่จากสถานการณ์
                   การค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญาที่มีความรุนแรงมากในต้นปี ๒๕๕๘ ซึ่งพบว่ามีการน าชาวโรฮิงญาไปกักตัวไว้

                   ในค่ายพักพิงชั่วคราวหลายร้อยคนบริเวณชายแดนไทย –  มาเลเซีย ก่อนส่งไปขายต่อที่มาเลเซียนั้น
                   ท าให้เกิดความร่วมมือในลักษณะทวิภาคีระหว่างต ารวจไทยกับต ารวจมาเลเซีย โดยมีการประชุมทวิ
                   ภาคีเมื่อวันพุธที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ที่จังหวัดภูเก็ต ประสานความร่วมมือกับต ารวจมาเลเซีย
                   เกี่ยวกับปัญหาขบวนการค้ามนุษย์โรฮิงญา ท างานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น  ภายหลังการประชุม

                   ทวิภาคี ผู้บัญชาการต ารวจแห่งชาติของทั้ง ๒ ประเทศ ได้ร่วมแถลงข่าวถึงการท างานร่วมกันในเรื่อง
                   การปูองกันปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ รัฐบาลไทยและรัฐบาลสหพันธรัฐมาเลเซียได้
                   เห็นความส าคัญที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ข่าวกรองระหว่างกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

                            อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือกับทั้ง ๕ ประเทศในช่วงที่ผ่านมายังมีปัญหาอุปสรรคบาง
                   ประการที่ท าให้การค้ามนุษย์ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง   ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมายของแต่ละ
                   ประเทศ และการน าข้อตกลงไปสู่การปฏิบัติที่ยังไม่เป็นรูปธรรม ประกอบกับการเข้าสู่ประชาคม
                   อาเซียนซึ่งจะท าให้สถานการณ์ในภูมิภาคอาเซียนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จึงจ าเป็นต้องมีการ
                   ทบทวนข้อตกลงระหว่างกันและปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากยิ่งขึ้น


                   ๕.๔ แนวทางในการสร้างและพัฒนากลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์


                          ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อ ๔ พบว่า ผลการศึกษากลไกความร่วมมือที่เป็นอยู่ใน
                   ปัจจุบันมีปัญหาขาดประสิทธิภาพ  แต่ละประเทศมีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการค้า
                   มนุษย์  บันทึกข้อตกลงแบบทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านยังมีลักษณะเชิงรับ
                   มากกว่าเชิงรุก การขาดกฎหมายกลางของภูมิภาคอาเซียนที่เปรียบเสมือนธรรมนูญของชาวอาเซียน

                   แบบเดียวกับกฎหมายของสหภาพยุโรป ขาดการจัดตั้งองค์กรกลางในการประสานงานในเรื่องการค้า
                   มนุษย์  และขาดการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมระหว่างประเทศ ซึ่งจะต้องมีการ
                   พัฒนากลไกความร่วมมือที่เป็นอยู่ในปัจจุบันให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
                          จากการสัมภาษณ์ผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคมทั้ง ๕ ประเทศ ได้แก่ องค์กร Law  and

                   Development  Partnership    ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  องค์กร Vulnerable
                   Children Assistance Organization  ในราชอาณาจักรกัมพูชา องค์กร Alliance Anti Trafficking
                   ในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม องค์กร United  Nations  Action  for  Cooperation  against
                   Trafficking  in  Person  (UN  –  ACT  องค์กร United  Against  Child  Trafficking  และองค์กร

                   Equality Myanmar ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา   องค์กร Tenaganita (Women’s Force)


                                                          ๑๗๒
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197