Page 189 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 189

ทะเลในประเทศไทย (Good  Labour  Practices  Guidelines  for  Primary  Processing
                   Workplaces  in  the  Shrimp  and  Seafood  Industry  of  Thailand  -  GLP/PPW)  เมื่อเดือน

                   กันยายน ๒๕๕๖ ซึ่งเน้นการขจัดการใช้แรงงานบังคับ การใช้แรงงานเด็ก เสรีภาพในการสมาคม การ
                   เจรจาต่อรองร่วม และความร่วมมือในสถานประกอบกิจการ การไม่เลือกปฏิบัติ ค่าจ้าง ชั่วโมงการ
                   ท างาน ค่าชดเชย ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการท างานและสวัสดิการ
                   และ  (๔) การเพิ่มความเข้มข้นในการตรวจแรงงานประมง

                          ๓. การช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยเน้นการด าเนินงานที่การให้ความ
                   ช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดย (๑) อนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราวเพื่อฟื้นฟูสภาพ
                   ร่างกาย และจิตใจ รวมทั้งการฝึกอาชีพและทักษะ (๒) การอนุญาตให้ผู้เสียหายสามารถออกไปท างาน
                   นอกบ้านพักเมื่อมีความพร้อม (๓) การด าเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมให้กับผู้เสียหายจากภาครัฐ

                   และจากผู้กระท าผิดฐานค้ามนุษย์
                          เหตุผลที่ท าให้เหยื่อของการค้ามนุษย์ หรือผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการค้า
                   มนุษย์ พบว่ามีเงื่อนไข ปัจจัยที่ส าคัญที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้คนเข้าสู่การค้ามนุษย์ กล่าวคือ


                          ๕.๒.๑  การค้ามนุษย์ในรูปแบบการค้าประเวณี  มีเงื่อนไข ปัจจัยที่ส าคัญที่ส่งเสริมและ
                   สนับสนุนให้ผู้คนเข้าสู่การค้ามนุษย์ คือ (๑) เงื่อนไข ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ผลการศึกษาจากทั้ง
                   พื้นที่จังหวัดพะเยาและพื้นที่อ าเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย รวมทั้งผลการศึกษาเชิงปริมาณสอดคล้อง

                   กันว่า เงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจ คือ ความยากจน หรือความต้องการทางด้านเศรษฐกิจ เป็นปัจจัย
                   หลักที่ท าให้ผู้คนตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ (๒) เงื่อนไข ปัจจัยเกี่ยวกับความไม่มั่นคงของ
                   สถาบันครอบครัว เช่น การที่เด็กเผชิญกับปัญหาการแตกแยกทางครอบครัว การหย่าร้างของพ่อแม่ซึ่ง
                   มีสถิติเพิ่มขึ้นทุกปี ท าให้เด็กขาดความอบอุ่น ไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากผู้ปกครองเท่าที่ควร เมื่อ
                   เด็กมีปัญหาจากทางครอบครัว  เด็กจะหาทางออกโดยการคลุกคลีอยู่กับเพื่อนเป็นส่วนใหญ่ทั้งเพื่อน

                   ชายและเพื่อนหญิง  จากจุดนี้จึงเป็นการน าพาเด็กออกไปสู่โลกภายนอก  โดยความไม่รู้หรือ
                   รู้เท่าไม่ถึงการณ์  เมื่อเด็กออกไปสู่โลกภายนอก ไปพักอาศัยอยู่กับญาติ หรือเพื่อนในบ้านเช่า หอพัก
                   ท าให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งที่ผิดในกลุ่มเพื่อน การคบเพื่อนชายอย่างอิสระ เพราะไม่มีผู้ปกครองดูแล น าไปสู่

                   เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร  ประกอบกับการแพร่หลายของค่านิยมที่มองว่า “พรมจารีย์ไม่ส าคัญ”
                   ส่งผลให้เด็กสาวตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ได้ง่ายขึ้น บางกรณีถูกล่วงละเมิดทางเพศเมื่ออายุ
                   ยังน้อย  โดยคนใกล้ชิด (๓) เงื่อนไข ปัจจัยเกี่ยวกับค่านิยมทางสังคม เป็นค่านิยมที่เด็กสาวในชุมชน/
                   สังคมในพื้นที่ต้องแบกรับความคาดหวังทางบทบาทของการเป็น “ลูกสาว” ที่ต้องท าหน้าที่ในการ

                   สร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว ฉะนั้นการขายเรือนร่างของตนเองเพื่อตอบแทนพระคุณบิดามารดา
                   จึงเป็นอีกหนึ่งหนทางที่เด็กสาว และผู้หญิงกลุ่มชาติพันธุ์ตัดสินใจท า

                          ๕.๒.๒  การค้ามนุษย์ในรูปแบบการค้าแรงงาน ผลการศึกษาในพื้นที่ศึกษาอ าเภอแม่สอด

                   จังหวัดตาก และพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร  สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการค้ามนุษย์ในรูปแบบการ
                   บังคับใช้แรงงาน หรือการใช้แรงงานเยี่ยงทาสซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการค้ามนุษย์นั้น โดยส่วนใหญ่
                   จะเกิดขึ้นกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติของประเทศเพื่อนบ้าน ฉะนั้นในการสังเคราะห์องค์ความรู้ใน
                   ประเด็นของเงื่อนไข ปัจจัยที่ส าคัญที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้คนเข้าสู่การค้ามนุษย์ ในรูปแบบการ

                   บังคับใช้แรงงาน จึงเน้นไปที่การวิเคราะห์จากมุมมองของเหยื่อการค้ามนุษย์ซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติ


                                                          ๑๖๙
   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194