Page 193 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 193

และ Universiti Utara Malaysia ในสหพันธรัฐมาเลเซีย ล้วนมีความเห็นว่า ต้องมีการปรับปรุงกลไก
                   ความร่วมมือระหว่างประเทศให้มีความกระชับมากขึ้น คณะกรรมการระดับปฏิบัติการควรประชุม

                   ร่วมกันให้บ่อยขึ้น นอกจากนี้ยังเห็นว่า ที่ผ่านมามุ่งเน้นการพัฒนากลไกในการปูองกันและแก้ไขปัญหา
                   การค้ามนุษย์ระดับชาติ และระดับภูมิภาคมากเกินไปจนละเลยการพัฒนากลไกในระดับพื้นที่ซึ่งมี
                   ความส าคัญในการปูองกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมมากกว่า ซึ่ง
                   ได้เกิดความร่มมือระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมขึ้นแล้ว แต่ยังไม่กว้างขวางเท่าที่ควร

                          ดังนั้น แนวทางในการสร้างและพัฒนากลไกในการปูองกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ใน
                   อาเซียนในระยะต่อไปควรมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคประชา
                   สังคมระหว่างประเทศให้มากขึ้น  ส่งเสริมและสนับสนุนภาคประชาสังคมในการให้ข้อมูลและความรู้
                   แก่ชุมชนและสังคมซึ่งคือการเน้นเรื่องการปูองกันในเชิงรุก การสนับสนุนให้ชุมชนมีการด าเนิน

                   โครงการเพื่อปูองกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในชุมชนของตน โดยรัฐและองค์กรภาคประชา
                   สังคมเป็นองค์กรพี่เลี้ยงที่ให้การสนับสนุนทั้งทางด้านงบประมาณ องค์ความรู้ทางวิชาการในการ
                   ขับเคลื่อน  สร้างเครือข่ายการเฝูาระวังปัญหาปัญหาการค้ามนุษย์ โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้า
                   มามีส่วนร่วมในการปูองกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ภายในชุมชนของตนเอง  สนับสนุนให้มีการ

                   แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นของประสบการณ์การท างาน เพื่อให้สามารถสร้างเวทีการเรียนรู้
                   ร่วมกันและสามารถเติมเต็มกระบวนการเรียนรู้ให้แก่กันได้อีกทางหนึ่ง เป็นต้น


                   ๕.๕ ข้อเสนอแนะ

                          จากผลการศึกษาวิจัยอนุสัญญา พิธีสารเกี่ยวกับการปูองกัน ปราบปราม และลงโทษการค้า
                   มนุษย์ของสหประชาชาติ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของ
                   ประเทศไทย การศึกษาบทบาท ข้อจ ากัด และปัญหาอุปสรรคของหน่วยงานภาครัฐและบทบาทของ

                   ภาคประชาสังคมในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์  การศึกษาเหยื่อค้ามนุษย์ ๓๑ ราย
                   การศึกษากลไกความร่วมมือระหว่างประทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน  และปัญหาอุปสรรคของความ
                   ร่วมมือ  ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้


                          ๕.๕.๑ ข้อเสนอแนะระดับนโยบาย
                                 (๑)   รัฐบาลควรมีนโยบายอย่างชัดเจนในการมุ่งเน้นให้กระทรวงการพัฒนาสังคม
                   และความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน ส านักงาน

                   ต ารวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และส านักงานปูองกันและปราบปรามการฟอกเงิน ท างาน
                   ร่วมกันอย่างบูรณาการ  ที่ผ่านมาหน่วยงานดังกล่าวยังยึดกฎหมายและระเบียบของตนเองเป็นหลักใน
                   การด าเนินงาน ท าให้เกิดปัญหาต่างคนต่างท า ยังขาดการบูรณาการกันอย่างแท้จริง
                                 (๒) รัฐบาลควรมีนโยบายในการปรับปรุงบทบาทของคณะกรรมการปูองกันและ

                   ปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือ ปคม. ซึ่งเป็นกลไกที่มีอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติปูองกันและปราบปราม
                   การค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ มาตราที่ ๑๕ และให้มีอ านาจตามมาตราที่ ๑๖ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นใน
                   ๓ ประเด็นหลัก คือ การเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ
                   หรือ โครงสร้างของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการปูองกันแบะปรายปรามการค้ามนุษย์  การก าหนด

                   ยุทธศาสตร์และมาตรการในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์  และการก าหนดแนวทางก ากับ


                                                          ๑๗๓
   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198