Page 196 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 196
(๖.๑) การปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่มีระยะยาวแทนนโยบาย
แบบปีต่อปี
(๖.๒) การแก้ไขกฎหมายการจดทะเบียนแรงงานสามารถตรวจสอบได้ และ
แรงงานสามารถด าเนินการได้ด้วยตนเองเพื่อตัดช่องทางการหลอกลวงของ
นายหน้า
(๖.๓) การให้ความรู้กับแรงงานเกี่ยวกับสิทธิของแรงงาน และกฎหมายการจด
ทะเบียนเป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายการสร้างเครือข่ายการช่วยเหลือ
กันระหว่างกลุ่มแรงงาน/ผู้อพยพในการแก้ไขปัญหา
(๖.๔) การจัดอบรมเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐได้เรียนรู้ภาษาของแรงงานที่สามารถ
สื่อสารกับแรงงานได้ โดยตรง
(๖.๕) การมีศูนย์เตรียมความพร้อมของแรงงานที่จะเข้ามาท างานใหม่ และมีการ
ให้ความรู้เบื้องต้นส าหรับการท างานในประเทศไทย และในช่วงการจด
ทะเบียนควรมีการประชาสัมพันธ์เป็นภาษาของแรงงาน
(๖.๖) การเสริมสร้างองค์ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ หรือ
กลุ่มเหยื่อค้ามนุษย์ เช่น การจัดโครงการอบรมให้ความรู้แก่แรงงานเกี่ยวกับ
สิทธิของแรงงาน โดยต้องให้ความส าคัญกับทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้าม
ชาติ
(๗) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และ
ส านักงานต ารวจแห่งชาติ ควรให้ความส าคัญกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการท างานกับ
องค์กรภาคประชาสังคม ในพื้นที่ เนื่องจากกลุ่มองค์กรเหล่านี้มีศักยภาพในการท างานเชิงรุกถึงปัญหา
ได้ค่อนข้างดี เนื่องจากมีเปูาหมายในการท างานที่ชัดเจน เฉพาะเรื่อง ไม่ต้องแบกรับภาระหน้าที่
หลากหลายเช่นหน่วยงานราชการ ฉะนั้นการสร้างภาคีความร่วมมือในการท างานร่วมกับองค์กร
พัฒนาเอกชน จึงสามารถเติมเต็มกระบวนการท างานของหน่วยงานภาครัฐได้เป็นอย่างดี
(๘) ส านักงานต ารวจแห่งชาติต้องเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายทุกฉบับที่
เกี่ยวข้องกับการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้แก่
(๘.๑) การเอาผิดนายหน้าและนายจ้างที่ละเลยการจดทะเบียนแรงงานที่ถูกต้อง
หรือที่กระท าการละเมิดสิทธิแรงงาน
(๘.๒) การจับกุมผู้ตั้งตนเป็นนายหน้าจัดหางานผิดกฎหมาย การท าเอกสารปลอม
ให้กับแรงงาน ทั้งคนไทยและคนต่างชาติ
(๘.๓) การยึดใบอนุญาตโรงงานที่ผิดกฎหมาย
(๙) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรก าหนดเรื่องการค้ามนุษย์ให้เป็น
ประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ที่มีความส าคัญในระดับต้นๆ เพราะการค้ามนุษย์ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนอย่างรุนแรง โดยควรด าเนินการ ดังนี้
(๙.๑) ด าเนินการตรวจสอบรัฐบาล และเจ้าหน้าที่รัฐอย่างต่อเนื่อง การตรวจสอบ
ไม่จ าเป็นต้องรอให้มีหน่วยงานหรือบุคคลมาร้องเรียน คณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติสามารถหยิบยกกรณีที่เห็นว่ามีการค้ามนุษย์หรือการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง มาท าการตรวจสอบอย่างเป็นอิสระโดย
๑๗๖