Page 190 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 190
เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งพบว่า เงื่อนไข ปัจจัยที่ส าคัญที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้คนเข้าสู่การค้ามนุษย์ ใน
รูปแบบการบังคับใช้แรงงานมีดังนี้ (๑) เงื่อนไข ปัจจัยเกี่ยวกับความยากจน และความด้อยโอกาสทาง
สังคม ยิ่งในกรณีของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ การลักลอบเข้าเมือง/ประเทศที่ผิดกฎหมาย ย่อมท าให้เขา
และเธอมีทางเลือกน้อยลงทุกขณะ ฉะนั้น “นายหน้า” ผู้ที่เป็นธุระจัดหา และน าพาไปท างานต่างๆจึง
เป็นเสมือนคนที่มีพระคุณ แม้ต้องเสี่ยงด้วยชีวิต แรงงานเหล่านี้ก็คิดว่า (๒) เงื่อนไข ปัจจัยเกี่ยวกับการ
ถูกล่อลวงโดยนายหน้า (๓) เงื่อนไข ปัจจัยเกี่ยวกับค่านิยมทางสังคม โดยที่เหยื่อการค้ามนุษย์ส่วน
ใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานเด็กมองว่าการที่ตนเองต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯเพื่อมาขายแรงงาน
เป็นสิ่งที่ตนเองใน “ฐานะลูกที่ดี” ของพ่อแม่/ครอบครัวพึงกระท า การกันท ามาหากิน เพื่อให้
ครอบครัวมีกินมีใช้เป็นหน้าที่ที่ต้องช่วยเหลือกัน ดังนั้นเมื่อมีคนมาชักชวนให้ไปท างาน กลุ่มคนเหล่านี้
จึงเห็นดีเห็นงาม และอย่างลอง “เสี่ยง” ดู เพื่ออนาคตที่อาจดีขึ้นของตนเองและครอบครัว (๔)
เงื่อนไข ปัจจัยเกี่ยวกับการต้องการเรียนรู้โลกกว้าง และการหลีกหนีสภาพความแร้นแค้นที่เผชิญอยู่
เช่น ข้อค้นพบจากพื้นที่อ าเภอแม่สอด จังหวัดตาก เด็กมุสลิมไร้สัญชาติที่เป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์
ให้ข้อมูลตรงกันว่า เหตุผลส าคัญอีกประการหนึ่งที่ท าให้ตนเองตัดสินใจติดตามนายหน้าไปท างานที่
กรุงเทพฯ คือ อยากไปดูโลกกว้าง อยากเห็นแสงสี เนื่องจากมี “รุ่นพี่” ที่มีประสบการณ์ในการ
เดินทาง กลับมาเล่าให้ฟังถึงความสวยงาม น่าอยู่ และเรื่องราวที่ตื่นเต้นที่กรุงเทพฯ ด้วยความด้อย
โอกาสทางสังคมของแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ที่ต้องอยู่อย่างล าบาก อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อาจจะไม่
“เจริญหูเจริญตา” ส่งผลท าให้พวกเขาและเธอตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ในการ “เสี่ยง” ไปท างานที่
กรุงเทพฯหรือพื้นที่อื่นๆตามนายหน้าล่อลวง
๕.๓ แนวทางความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อ ๓ พบว่า ประเทศไทยได้มีความร่วมมือในการปูองกันและ
ปราบปรามการค้ามนุษย์กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสหพันธรัฐมาเลเซีย ที่ชัดเจน
มากขึ้นหลังจากมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดย
เรียกชื่อกรอบความร่วมมือว่า “ข้อตกลง” (Agreement) แทน “บันทึกความเข้าใจ” และใช้ค าว่า
“การค้ามนุษย์” แทน “การค้าหญิงและเด็ก” เพื่อครอบคลุมกลุ่มเปูาหมายที่เป็นผู้ชาย ซึ่งจะ
สอดคล้องกับ และกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ครอบคลุมกรอบความร่วมมือในด้าน
การปูองกัน คุ้มครองช่วยเหลือ การปราบปราม การส่งกลับและคืนสู่สังคม ตลอดจนการก าหนดกลไก
ประสานงานและการบริหารจัดการต่างๆ ซึ่งสืบเนื่องมาจากความพยายามในการท างานร่วมกันในการ
พัฒนาระบบส่งกลับและคืนสู่สังคมให้แก่เหยื่อการค้ามนุษย์ชาวพม่า ลาว และกัมพูชา เริ่มจากการ
ท างานร่วมกันระหว่างกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการกับกลุ่มองค์กรเอกชนและองค์การระหว่าง
ประเทศในประเทศไทย ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจาก IOM และ UNIAP จนเชื่อมโยงไปยังองค์กร
เอกชนระหว่างประเทศ จนเกิดระบบการส่งกลับและคืนสู่สังคมอย่างเป็นทางการ และมีการท างาน
ประสานกับสถานทูตของประเทศดังกล่าวในไทย ทั้งนี้ได้มีการหารือร่วมกับผู้แทนของประเทศต่างๆ
หลายครั้ง โดยอาศัยเวทีของการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ ในอนุภูมิภาคลุ่ม
แม่น้ าโขง จนได้เห็นพ้องร่วมกันในการที่จะจัดท ากรอบความร่วมมือ ระดับทวิภาคีร่วมกัน กล่าวคือ
๑๗๐