Page 197 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 197
ใช้ทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติ และกฎหมาย
ภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์เป็นกรอบในการตรวจสอบ
(๙.๒) เสริมสร้างองค์ความรู้แก่บุคลากร/ทีมงานให้มีความรู้ ความเข้าใจอนุสัญญา
กติการะหว่างประเทศ รวมทั้งกฎหมายภายในประเทศทุกฉบับที่เกี่ยวข้อง
กับการค้ามนุษย์ให้กับเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง รวมทั้งการให้
ความรู้เกี่ยวกับนิยามความหมายของการค้ามนุษย์ กระบวนการท างานเพื่อ
การปูองกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และการช่วยเหลือ เยียวยาเหยื่อ
การค้ามนุษย์ที่เป็นระบบ เพื่อให้เกิดความแม่นย าในการใช้กรอบทาง
กฎหมายมาท าการตรวจสอบทั้งเรื่องที่มีการร้องเรียน และเรื่องที่
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหยิบยกขึ้นมาเองอย่างแม่นย า
(๙.๓) สร้างและพัฒนากลไกการร้องเรียนเรื่องการค้ามนุษย์ในระดับพื้นที่กับภาค
ประชาสังคม หรือองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อให้ผู้ถูกละเมิดจากนายหน้าหรือ
ขบวนการค้ามนุษย์ได้เข้าถึงสิทธิในการร้องเรียนได้มากขึ้น
(๙.๔) จัดท าฐานข้อมูลเรื่องการค้ามนุษย์อย่างเป็นระบบ สามารถน ามาใช้
ประกอบการตรวจสอบการค้ามนุษย์อย่าง มีประสิทธิภาพและทันสมัย
(๙.๕) ไม่ควรเข้าไปเป็นคณะกรรมการหรือคณะท างานใดๆ ของภาครัฐในการ
ด าเนินงานใดๆก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ เพราะจะท าให้เสียจุดยืน
ในการตรวจสอบกลไกของรัฐที่มีอ านาจในการปกปูองและคุ้มครองเหยื่อ
ของการค้ามนุษย์
๕.๕.๓ ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป
การวิจัยในครั้งนี้ให้ความส าคัญหรือมีจุดเน้นไปที่การศึกษารูปแบบการค้ามนุษย์ บทบาทของ
ภาครัฐ ภาคประชาสังคมในการปูองกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และความร่วมมือกับประเทศ
เพื่อนบ้าน ซึ่งผลการศึกษาพบรูปแบบและกระบวนการค้ามนุษย์ที่มีความหลากหลายและ
สลับซับซ้อนมากกว่าอดีตที่ผ่านมา ฉะนั้นจึงควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องต่อไปนี้
(๑) ศึกษาวิจัยเรื่อง รูปแบบการค้ามนุษย์ในแต่ละรูปแบบ ให้ลึกซึ้งมากขึ้นจะท าให้
เรามีองค์ความรู้ที่เท่าทันขบวนการค้ามนุษย์หรือองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวข้องกับการค้า
มนุษย์ อันมีผลโดยตรงต่อความสามารถในการสร้างและพัฒนาแนวทางในการปูองกันปัญหาการค้า
มนุษย์ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
(๒) การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการในระดับชุมชน โดยมีการทดลองจัดท าโครงการหรือ
กิจกรรมในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังในรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
(Participatory Action Research) จะท าให้เกิด Model ต้นแบบของชุมชนที่มีภูมิคุ้มกันการค้า
มนุษย์ได้
(๓) การศึกษาวิจัยเรื่องความร่วมมือขององค์กรภาคประชาสังคมของประเทศไทย
กับองค์กรภาคประชาสังคมของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือในระดับปฏิบัติการซึ่ง
จะสอดคล้องกับทิศทางการสร้างและพัฒนากลไกการปูองกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่ควร
มุ่งเน้นกลไกในระดับพื้นที่
๑๗๗