Page 195 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 195
(๒) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงมหาดไทย
ควรร่วมมือกันสร้างเครือข่ายในการท างานระดับพื้นที่ ทั้งในระดับต าบล ระดับชุมชนหรือหมู่บ้าน โดย
เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการ
ปูองกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์แต่ละพื้นที่ สร้างและพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครจากชุมชน
เพื่อท าหน้าที่ในการเฝูาระวังปัญหาและติดตามสถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์ในพื้นที่ พร้อมทั้งมี
การพัฒนาระบบการคุ้มครองดูแลความปลอดภัยแก่อาสาสมัครและเครือข่ายคณะท างาน เพื่อสร้างให้
เกิดความปลอดภัยในชีวิตและความมั่นใจให้แก่อาสาสมัคร
(๓) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงศึกษาธิการ กรมประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุ และโทรทัศน์ และองค์กรภาคประชาสังคม
ควรร่วมมือกันประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูล และความรู้เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ทั้งในระดับโรงเรียน ระดับ
ชุมชน และระดับประเทศ เพื่อสร้างความตระหนัก และเพื่อการสร้างภูมิคุ้มกันในการปูองกันตนเองมิ
ให้ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มนายหน้าที่จะเข้ามาชักน าให้เข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ รวมทั้งการสร้าง
ทัศนคติที่ดีในการดูแลแรงงานต่างด้าวในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ การเคารพผู้หญิงในฐานะมนุษย์มิใช่
การมองในฐานะวัตถุทางเพศที่มีไว้ตอบสนองความต้องการของผู้ชายเพียงเท่านั้น
(๔) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงมหาดไทย
ควรจัดให้มี Shelter รองรับเหยื่อการค้ามนุษย์ในแต่ละจังหวัด ท าหน้าที่เป็นสถานแรกรับเหยื่อจาก
การค้ามนุษย์ เพื่อกัน/แยกเหยื่อออกจากกระบวนการ โดยที่ Shelter ดังกล่าวจ าเป็นต้องมีความ
พร้อมในเรื่องของการแก้ไข เยียวยาเหยื่อในเบื้องต้น อาทิ มีนักสังคมสงเคราะห์ และนักจิตวิทยาใน
การให้ค าปรึกษา และให้การเยียวยาในเบื้องต้น ทั้งนี้ Shelter นี้จ าเป็นต้องมีสถานที่ท าการของ
ตนเองเป็นการเฉพาะ พร้อมทั้งมีคณะท างานที่ชัดเจน เป็นระบบ และอาจเป็นสถานพักพิงส าหรับ
ผู้หญิงและเด็กที่เผชิญปัญหาอื่นๆร่วมด้วย ซึ่งหากพิจารณาในลักษณะเช่นนี้ พบว่า ปัจจุบัน
“บ้านพักเด็กและครอบครัว” ในแต่ละจังหวัดท าหน้าที่ดังกล่าวอยู่ ฉะนั้นเพื่อมิให้เป็นการสิ้นเปลือง
งบประมาณ และการจัดตั้งหน่วยงานที่ซ้ าซ้อน จ าเป็นต้องมีการประสานความร่วมมือในการท างาน
กับเหยื่อตามลักษณะของต้นกับบ้านพักเด็กและครอบครัวในแต่ละจังหวัด
(๕) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ควรท าการทบทวนและ
ปรับปรุงคู่มือสหวิชาชีพในการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทาง
ในการปฏิบัติงานของทีมสหวิชาชีพ และเผยแพร่ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงรูปแบบ
วิธีการ ในการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์อย่างเป็นระบบ เนื่องจากผลการศึกษาใน
พื้นที่สะท้อนให้เห็นว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับนิยามการค้ามนุษย์ กระบวนการในการท างานเพื่อ
ช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์ของทีมสหวิชาชีพซึ่งประกอบด้วย พนักงานอัยการ เจ้าหน้าที่ต ารวจ
พนักงานฝุายปกครอง แพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา นักกฎหมาย เจ้าหน้าที่ ส านักงาน
จัดหางานจังหวัด เจ้าหน้าที่ส านักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด และหรือองค์กรพัฒนา
เอกชนที่เกี่ยวข้องที่ยังตีความต่างกันในการคัดแยกเหยื่อซึ่งมีผลโดยตรงต่อการจัดการกับขบวนการค้า
มนุษย์ การท างานเพื่อปูองกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ
(๖) กระทรวงแรงงานควรให้ความส าคัญกับการท างานกับกลุ่มแรงงานอพยพ
ต่างชาติให้มากยิ่งขึ้น เป็นต้นว่า มีการสร้างและพัฒนาระบบการให้ความรู้และข้อมูลต่างๆอย่าง
เพียงพอกับแรงงานอพยพ เพื่อให้แรงงานเหล่านี้มีข้อมูลอย่างเพียงพอและเท่าทัน ซึ่งอาจจะปูองกัน
การตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ได้ เช่น
๑๗๕