Page 191 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 191
(๑) ข้อตกลงแบบทวิภาคีระหว่างประเทศไทยไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน
ลาว สองฝุายได้เห็นพ้องในการด าเนินงานร่วมกันเพื่อให้บังเกิดผลในความก้าวหน้าในการจัดท าแนว
ทางการด าเนินงานว่าด้วยการร่วมมือระหว่างไทย-ลาวเกี่ยวกับการรับ-ส่งและฟื้นฟูพัฒนาเหยื่อการค้า
มนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก ก าหนดจัดการประชุมคณะท างานไทย-ลาว เพื่อติดตามผลการ
ด าเนินงานตามแผนปฏิบัติการทุก ๖ เดือนหรือ ๑ ปี เพื่อให้มีกลไกในการติดตามและประเมินผล
การด าเนินงานให้เป็นไปตามแผน จัดการประชุมเจ้าหน้าที่ชายแดนไทย-ลาว เพื่อรณรงค์ให้ความรู้ใน
กรอบความร่วมมือตาม MOU ร่วมกัน การท างานในประเด็นเรื่องสื่อและการประชาสัมพันธ์ร่วมกัน
การอบรมให้ความรู้ในเรื่องของการส่งกลับและคืนสู่สังคมร่วมกัน ที่ผ่านมาได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยน
ให้เจ้าหน้าที่สงเคราะห์ของทั้งสองประเทศได้ศึกษาดูงานในสถานการณ์จริงของขั้นตอนการส่งกลับ
โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การโยกย้ายถิ่นระหว่างประเทศ (IOM) โครงการความร่วมมือไทย-ลาว
ว่าด้วยการติดตามผู้สูญหายที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับชุมชน
ร่วมกับกรมสังคมสงเคราะห์และสหพันธ์แม่หญิงลาว เพื่อให้เข้าใจวิธีการและขั้นตอนในการประสาน
ข้อมูลเพื่อค้นหาผู้สูญหาย
(๒) ข้อตกลงแบบทวิภาคีระหว่างระหว่างประเทศไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา การด าเนิน
กิจกรรมในช่วงที่ผ่านมามีการพัฒนาหลักเกณฑ์การคัดแยกเหยื่อ มีการส่งกลับผู้เสียหายที่ได้รับการ
ปกปูองคุ้มครองกลับประเทศกัมพูชา มีการพัฒนาแนวทางการส่งกลับร่วมกัน และเผยแพร่ให้แก่
หน่วยงานทีเกี่ยวข้อง มีการพัฒนาบุคคลด้านการปูองกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก โดยการ
ฝึกอบรมของศูนย์กฎหมายภูมิภาคลุ่มแม่น้ าโขง ซึ่งน าเจ้าหน้าที่ของประเทศกัมพูชามาศึกษาดูงานที่
บ้านเกร็ดตระการ มีการดูแลหญิงและเด็กกลุ่มเสี่ยงในการอบรมอาชีพในการคัดแยกขยะเพื่อ
เสริมสร้างรายได้แก่กลุ่มเสี่ยงอาชีพขอทาน มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งสถานที่พักพิงใน
ประเทศกัมพูชา เพื่อฟื้นฟูและฝึกอบรมอาชีพ
(๓) ข้อตกลงแบบทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม ได้มีการ
ก าหนดแนวทางการด าเนินงานร่วมกันของทั้ง ๒ ประเทศ ประกอบด้วย ด้านการปูองกัน เน้นการ
ส่งเสริมในด้านการจัดบริการสังคม การศึกษา การฝึกอาชีพและการมีงานท า การรณรงค์สร้างความ
ตระหนักและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์ ด้านการปกปูองคุ้มครอง มุ่งให้
ความคุ้มครองผู้ตกเป็นเหยื่อ ด้วยมาตรการที่เหมาะสม เพื่อให้เหยื่อการค้ามนุษย์ได้เข้าถึงความ
ช่วยเหลือทั้งในด้านกฎหมายและบริการสังคม ด้านการปราบปราม เน้นความร่วมมือกันในการ
สืบสวนสอบสวน การด าเนินคดี ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางอาญา การแลกเปลี่ยนข้อมูลและ
การฝึกอบรม เพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ ด้านการส่งกลับ
ก าหนดให้มีหน่วยงานประสานงานกลางในด้านการรับและส่งเหยื่อการค้ามนุษย์กลับประเทศ
ภูมิล าเนา รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในการคืนสู่สังคม และด้านการปฏิบัติงานร่วม ก าหนดให้มี
หน่วยงานประสานงานกลาง และจัดตั้งคณะท างานร่วมเพื่อท าหน้าที่ในการประสานงาน การ
วางแผนปฏิบัติงาน การด าเนินงานและการติดตามประเมินผล เพื่อให้มีการด าเนินการกิจกรรมต่างๆ
เป็นไปตามข้อตกลง
(๔) ข้อตกลงแบบทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับสหภาพเมียนมา แกนหลักของเมียนมาคือ
ส านักงานต ารวจ กระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการต่อต้านการค้ามนุษย์ มีข้อตกลงให้มี
การจัดท าเอกสารที่ถูกต้องแก่แรงงานอพยพชาวเมียนมา ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับ Passport อันจะ
ท าให้แรงงานเมียนมา สามารถท างานในประเทศไทยได้นานราว ๒ ปี แต่กระบวนการออกเอกสารก็มี
๑๗๑