Page 188 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 188
การคุ้มครองช่วยเหลือ การพัฒนากลไกเชิงนโยบายและการขับเคลื่อน และการพัฒนาและบริหาร
ข้อมูล และภายใต้นโยบายยุทธศาสตร์ และมาตรการดังกล่าวได้มีการแต่งตั้งองค์กรกลุ่มที่ส าคัญเพื่อ
เป็นกลไกบริหารนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
ได้แก่ คณะกรรมการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) ตามมาตรา ๑๕ ของ
พระราชบัญญัติปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการประสานและก ากับการด าเนินงานปูองกันและปราบปรามการค้า
มนุษย์ (คณะกรรมการ ปกค.) ตามมาตรา ๒๒ ของพระราชบัญญัติฯ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีเป็น
ประธาน ทั้งนี้ ยังได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการตามประเด็นยุทธศาสตร์ ทั้งห้าด้าน ได้แก่
คณะอนุกรรมการปูองกันคณะอนุกรรมการด าเนินคดี คณะอนุกรรมการคุ้มครองช่วยเหลือ
คณะอนุกรรมการพัฒนากลไกเชิงนโยบายและการขับเคลื่อน และคณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหาร
ข้อมูล เพื่อท าหน้าที่ขับเคลื่อนและบูรณาการการด าเนินงานตามมาตรการของแต่ละประเด็นในการ
ปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รายงานผลต่อคณะกรรมการ ปคม. และคณะกรรมการ ปกค.
ต่อไป
อนึ่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีค าสั่งฉบับที่ ๗๓/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน
๒๕๕๗แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ (กนร.) และ
และค าสั่งที่ ๗๔/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ แต่งตั้งอนุกรรมการประสานงานการจัดการ
ปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ (อกนร.) เพื่อสนับสนุนการท างานของ กนร. ซึ่งหาก
พิเคราะห์แล้วจะเห็นว่า กนร. และ อกนร. มีความคล้ายคลึงกับ ปคม. และปกค. ภายใต้
พระราชบัญญัติฯ หากแต่ กนร. และ อกนร. จัดตั้งขึ้นในสภาวการณ์พิเศษเพื่อด าเนินภารกิจแก้ไข
ปัญหาการค้ามนุษย์เป็นการเร่งด่วนและมีสถานะกึ่งชั่วคราว โดยสามารถยุบเลิกหรือปรับปรุง
องค์ประกอบและอ านาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสมเมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ
เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในสถานะประเทศต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางของการค้ามนุษย์
นโยบายเพื่อแก้ไข ปูองกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ของไทย ให้ความส าคัญกับผู้เสียหายจาก
การค้ามนุษย์เป็นหลัก (Victim-Centered) และมีความเกี่ยวข้องกับการด าเนินงานหลายด้านที่
เกี่ยวข้องกับการปูองกันการแสวงประโยชน์หรือการบังคับใช้แรงงาน การปราบปรามและด าเนินคดี
ขบวนการค้ามนุษย์ รวมถึงการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ซึ่งนโยบายที่ไทยก าลัง
ให้ความส าคัญในปัจจุบัน มีดังนี้
๑. การด าเนินงานเกี่ยวกับผู้โยกย้ายถิ่นฐานที่เหมาะสมของไทย เมื่อเดือนกันยายน
๒๕๕๖ นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานการประชุมหารือในประเด็นดังกล่าว โดยเน้นการเคารพหลัก
สิทธิมนุษยชน และประสงค์ให้แรงงานต่างด้าวทั้งหมดได้รับการจดทะเบียนและพิสูจน์สัญชาติให้
เรียบร้อยเพื่อให้สามารถอยู่ท างานในไทยได้อย่างถูกต้องและได้รับสิทธิ/การคุ้มครองทางสังคมต่าง ๆ
โดยรัฐบาลก าลังพิจารณาเรื่อง การปรับสิทธิด้านการรักษาพยาบาลแรงงานต่างด้าวจากเดิมที่มีอยู่
ให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อรองรับการเตรียมตัวเข้าสู่ความเป็นประชาคม
อาเซียน
๒. การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง ซึ่งมีการด าเนินงานที่ส าคัญ
ได้แก่ (๑) การจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองซึ่งลักลอบท างานบนเรือประมงปีละ ๒
เดือน (๒) จัดตั้งศูนย์ประสานแรงงานประมงใน ๗ จังหวัดน าร่อง (๓) การประกาศใช้แนวปฏิบัติการ
ใช้แรงงานที่ดีส าหรับสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ าเบื้องต้นในอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งและอาหาร
๑๖๘