Page 152 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 152

แปดปีผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท
                   และถ้าเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีทําการค้าประเวณีอยู่ด้วย ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบ

                   ปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท ตามมาตรา ๑๑
                          ๖. มีการบัญญัติฐานความผิดและบทกําหนดโทษแก่ผู้หน่วงเหนี่ยวกักขัง ทําร้ายร่างกาย หรือขู่
                   เข็ญ ด้วยประการใดๆเพื่อให้ผู้อื่นกระทําการค้าประเวณี ระวางโทษจําคุก ๑๐ – ๒๐ ปี และปรับ
                   ๒๐๐,๐๐๐ – ๔๐๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๑๒


                          (๓) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๐  มีสาระสําคัญ
                   ดังนี้
                          ๑. มีการให้คํานิยามของคําว่า “เด็ก”  ตามพระราชบัญญัตินี้ไว้ในมาตรา ๔ บัญญัติว่า  “เด็ก”

                   หมายความว่า บุคคลผู้มีอายุไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์
                          ๒. พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้บัญญัติถึงการกระทําความผิดเกี่ยวกับการค้าหญิงหรือเด็กไว้ใน
                   มาตรา ๕  ครอบคลุมถึงการซื้อ ขาย จําหน่ายพามาจากหรือส่งไปยังที่ใด รับ หน่วงเหนี่ยว หรือกักขัง ซึ่ง
                   หญิงหรือเด็ก หรือจัดให้หญิงหรือเด็กกระทําการหรือยอมรับการกระทําใด เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น

                   เพื่อการอนาจาร หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น ไม่ว่าหญิงหรือเด็ก
                   นั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายว่าด้วยการปูองกันและ
                   ปราบปรามการค้าประเวณี กฎหมายว่าด้วยสวัสดิภาพเด็ก

                          ๓. ให้อํานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย โดย มาตรา ๔ ได้ระบุคํานิยามของคําว่า
                   “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการไม่ต่ํากว่าระดับ ๓ หรือพนักงานฝุายปกครองหรือตํารวจ
                   ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
                          และให้อํานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๙ ดังนี้
                          มาตรา ๙ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อปูองกันและปราบปรามการกระทําความผิด

                   ตามกฎหมายที่ระบุในมาตรา ๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจดังต่อไปนี้
                          ๑. มีหนังสือเรียกให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคํา หรือให้ส่งเอกสารหรือพยานหลักฐาน
                          ๒. ตรวจตัวหญิงหรือเด็กที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้เสียหายจากการกระทําความผิดตาม

                   กฎหมายที่ระบุในมาตรา ๕ แต่ถ้าผู้เสียหายเป็นหญิงหรือเด็กหญิงจะต้องให้หญิงอื่นเป็นผู้ตรวจ
                           ๓. ตรวจค้นสถานที่หรือยานพาหนะใดๆ แต่การตรวจค้นสถานที่ให้กระทําในเวลาระหว่างพระ
                   อาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าหากไม่ดําเนินการทันทีหญิงหรือเด็กนั้นอาจถูก
                   ใช้กําลังประทุษร้าย หรือผู้กระทําผิดจะทําการโยกย้ายหรือซ่อนเร้นหญิงหรือเด็กนั้นเสียก่อน พนักงาน

                   เจ้าหน้าที่จะทําการตรวจค้นสถานที่ในเวลากลางคืนก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมตํารวจหรือผู้
                   ที่อธิบดีกรมตํารวจมอบหมายสําหรับในเขตกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการ
                   จังหวัดมอบหมายสําหรับในเขตจังหวัดอื่น


                          (๔) ประมวลกฎหมายอาญา มีสาระสําคัญที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ดังนี้
                          ๑. มีการบัญญัติฐานความผิดและบทกําหนดโทษสําหรับความผิดฐานเพื่อสนองความใคร่ เป็นธุระ
                   จัดหาเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิงตามมาตรา ๒๘๒ ระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้ง
                   แต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท โดยมีการจําแนกระวางโทษ ถ้าเป็นการกระทําแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปี


                                                            ๑๓๒
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157