Page 150 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 150

๔.๔ ปัญหา อุปสรรค ในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
                          ๔.4.๑ กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

                          ผู้วิจัยได้ทําการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พบว่า
                   ประเทศไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้กฎหมายระหว่างประเทศแก้ไขป๎ญหาการค้ามนุษย์หลายฉบับ
                   ความตกลงระหว่างประเทศที่ไทยลงนามในกรอบการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ทั้งในระดับทวิภาคี
                   และพหุภาคี รวมแล้วไม่ต่ํากว่า ๑๐ ฉบับ อันสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของไทยในการร่วมมือกับนานา

                   ประเทศและองค์การระหว่างประเทศในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กฎหมายระหว่าง
                   ประเทศที่มีความสําคัญมากคือ อนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งใน
                   ลักษณะองค์กร และพิธีสารว่าด้วยการปูองกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและ
                   เด็กรวมทั้งได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติปูองกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรม

                   ข้ามชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖   ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันและเข้าเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาฉบับนี้เมื่อวันที่
                   ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
                          ส่วนมาตรการทางด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ป๎จจุบันมีความร่วมมือกันระหว่างประเทศใน
                   ระดับหนึ่งโดยมีพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญา พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติ

                   ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. ๒๔๗๒ แต่มาตรการเหล่านี้ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะจัดการป๎ญหาองค์กร
                   อาชญากรรมและอาชญากรรมข้ามชาติ เนื่องจากมาตรการด้านความร่วมมือเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย
                   ซึ่งมีลักษณะเป็นพิธีการและเป็นทางการ ความร่วมมือระหว่างประเทศมีขั้นตอนยุ่งยาก ทําให้ในทาง

                   ปฏิบัติการได้รับความร่วมมือเป็นเรื่องค่อนข้างยากและใช้เวลามาก

                          ๔.4.2  กฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
                          สําหรับกฎหมายภายในประเทศของประเทศไทยมีกฎหมาย ๙ ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการปูองกัน
                   และปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้แก่ (๑) พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) พระราชบัญญัติ

                   ปูองกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. ๒๕๓๙ (๓) พระราชบัญญัติปูองกันและปราบปรามการค้า
                   หญิงและเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๐ (๔) ประมวลกฎหมายอาญา (๕) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
                   กฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๔๐ (๖) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา

                   ความอาญา (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๔๒ (๗) พระราชบัญญัติปูองกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.
                   ๒๕๔๒ (๘) พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ และ (๙) พระราชบัญญัติปูองกันและปราบปราม
                   การค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑  กฎหมายแต่ละฉบับมีรายละเอียดเกี่ยวกับการปูองกันและปราบปรามการค้า
                   มนุษย์ ดังนี้


                          (๑) พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มีประเด็นที่น่าสนใจและมีส่วนเกี่ยวข้องกับ
                   การค้ามนุษย์ ระบุไว้ในหมวด ๒ การเข้าและออกนอกราชอาณาจักร ได้แก่
                          ๑. มีการบัญญัติฐานความผิดและบทกําหนดโทษกรณีบุคคลไม่เดินทางเข้ามาหรือออกไปนอก

                   ราชอาณาจักรตามช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมือง ตามมาตรา ๑๑  ระวางโทษจําคุกไม่เกิน ๒ ปี และปรับ
                   ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๖๒






                                                            ๑๓๐
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155