Page 105 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 105
ในคดีที่มีการกระทําอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และบทใดบทหนึ่งจะต้อง
ดําเนินการโดยพนักงานสอบสวนคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติ หรือคดีที่มีการกระทําความผิดหลายเรื่อง
ต่อเนื่อง หรือเกี่ยวพันกัน และความผิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะต้องดําเนินการโดยพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
ตาม พ.ร.บ. นี้ ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีอํานาจสืบสวนสอบสวน สําหรับความผิดบทอื่น หรือเรื่อง
อื่นด้วย และให้ถือว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ
บรรดาคดีใดที่ได้ทําการสอบสวนเสร็จแล้ว โดยพนักงานสอบสวนคดีพิเศษให้ถือว่าการสอบสวน
นั้นเป็นการสอบสวนในคดีพิเศษตาม พ.ร.บ. นี้แล้ว
บทบัญญัติในมาตรานี้ให้ใช้บังคับกับบุคคลที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนการกระทําความผิด
ด้วย
ในกรณีที่มีข้อโต้แย้ง หรือข้อสงสัยว่าการกระทําความผิดใดเป็นคดีพิเศษตามที่กําหนดไว้ในวรรค
หนึ่ง (๑) หรือไม่ ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อจํากัดของกรมสอบสวนคดีพิเศษในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ที่สําคัญ คือ
ประเทศไทยเป็นได้ทั้งประเทศต้นทาง และปลายทาง เพราะจุดยุทธศาสตร์ของประเทศดี และเป็น
ประเทศที่เจริญกว่าประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นผลทําให้ผู้คนจากประเทศเพื่อนบ้านหลั่งไหลเข้ามาประกอบ
อาชีพ เพื่อต้องการค่าแรงที่สูงกว่าประเทศของตนเอง นอกจากนี้การทุจริตคอรัปชั่นของหน่วยงานราชการ
และเจ้าหน้าที่ยังเป็นข้อจํากัดที่สําคัญอีกประการหนึ่ง เพราะนอกจากจะเป็นเรื่องของผลประโยชน์แล้ว
แต่ถ้ามีหน่วยงานภายนอกเข้าไปจับกุม หน่วยงานที่ทําหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในเขตพื้นที่นั้นก็ต้องเดือดร้อน
เพราะแสดงให้เห็นถึงการละเลยในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ และอาจร้ายแรงถึงขั้นถูกดําเนินคดีตั้ง
กรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริง ทําให้เกิดป๎ญหาข่าวรั่วตลอด เพราะมีการแจ้งเบาะแสให้กับ
ผู้ประกอบการได้รับทราบเพื่อปกปิดความผิด
ป๎ญหาอุปสรรคของกรมสอบสวนคดีพิเศษในการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ที่สําคัญ
สามารถสรุปประเด็นได้ดังนี้
๑) ผู้เสียหายส่วนใหญ่ถูกหลอก ถูกมอมยา และกักขังตัวไว้ก่อนระยะหนึ่ง โดยเฉพาะแรงงาน
ประมงจะถูกกักตัวไว้ บางคนต้องไปอยู่ ๕ – ๑๐ ปี ก่อนส่งลงเรือไปยังนอกน่านน้ํา ประเทศอินโดนีเซีย
ทําให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างยากลําบาก เพราะการร้องขอกลับมาทําได้ยาก ผู้เสียหายส่วนใหญ่ใช้เวลา
อยู่แต่ในเรือ หรือถ้าเรือจอดเทียบท่าแล้วกลับมาขึ้นเรือไม่ทันก็จะทําให้ต้องติดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย
๒) การดูแลและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายของประเทศต้นทางมีข้อจํากัด เช่น กรณีชาวพม่า
ที่เป็นชนเผ่า หรือชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะประเทศพม่าจะไม่ค่อยมีเอกสารหลักฐานที่ชัดเจน หรือประเทศ
ลาวเรื่องของการประสานงานจะติดขัดค่อนข้างมาก เพราะมีกระบวนการหลายขั้นตอน รัฐบาลมีลักษณะ
การปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ เช่น การประสานงานตํารวจกับตํารวจไม่สามารถทําได้โดยตรง ต้องผ่าน
กระทรวงมหาดไทยของลาว ทําให้งานเกิดความล่าช้า และหลายครั้งไม่สามารถแก้ไขป๎ญหาได้อย่าง
ทันการณ์ นอกจากนี้ป๎ญหาที่สําคัญอีกประการหนึ่งของประเทศลาว คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐทําอายุใน
หนังสือเดินทางให้กับประชาชนของตนเองเกินกว่าอายุจริง อาทิ เด็กอายุ ๑๕ เป็น ๒๐ เป็นต้น จึงเป็นผล
ทําให้เมื่อเด็กเหล่านี้ถูกเจ้าหน้าที่ของไทยตรวจพบว่ามีอายุเกิน ๑๘ ปีก็จะรอดพ้นจากการดําเนินคดี เป็น
ต้น
๓) การให้ความร่วมมือของผู้เสียหาย บางคนไม่สามารถแยกแยะได้ว่าตนเองถูกหลอก ถือเป็น
ผู้เสียหาย หรือบางคนไม่มีสภาพว่าถูกกักขัง ไม่หลบหนี ยอมรับ และเต็มใจค้าบริการ เพื่อต้องการหา
๘๕