Page 38 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 38

38          รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                   ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน











                         กรณีตัวอย่างการดำาเนินการของ กสม. เมื่อมีเรื่องร้องเรียนว่า
                         มีการใช้แรงงานบังคับในกิจการประมง


                         มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง เคยร้องเรียน

                  ต่อ กสม. ว่า มีการใช้แรงงานบังคับในกิจการประมง จากการรายงานข่าวของบีบีซี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554
                  มีการยื่นคำาร้องอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2556 ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2557 คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวกับด้าน

                  สิทธิแรงงานของ กสม. จึงเริ่มดำาเนินกระบวนการตรวจสอบ โดยการสอบถามข้อเท็จจริงกับผู้ที่
                  ร้องเรียนเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน และกรมประมง

                  เพื่อรับฟังความคิดเห็น และเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
                  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  ตลอดจนบริษัทและองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง สมาคม
                                    ้
                  การประมงนอกน่านนำาไทย และได้รับคำาอธิบายว่าห่วงโซ่อุปทานมีปัญหาการละเมิดสิทธิ อย่างไรก็ดี
                  ในรายงานการตรวจสอบ กสม. ไม่ได้ระบุข้อเสนอแนะถึงบริษัทเอกชนใดๆ เนื่องจากผู้ร้องเรียนมี

                  วัตถุประสงค์เพื่อขอความช่วยเหลือ และให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล




                         ข้อท้าทายของการดำาเนินงานด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                         จากภาคธุรกิจ


                         จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของสำานักงาน กสม. เกี่ยวกับการดำาเนินงานเพื่อคุ้มครอง
                  สิทธิมนุษยชนกรณีการร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ พบว่า

                         1)  บริษัทเอกชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลกับ กสม. เป็นอย่างดี อย่างไร
                  ก็ตาม หลายครั้งบริษัทไม่ได้ให้ข้อมูลที่จำาเป็นทั้งหมด โดยเฉพาะการมาชี้แจงด้วยวาจา อาจทำาให้

                  ไม่ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน ตรงประเด็น ดังนั้น การชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรจึงเป็นวิธีการที่จะ
                  ทำาให้ได้รับข้อมูลที่ตรงประเด็นและมีความชัดเจนมากกว่า

                         2)  การพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย กฏเกณฑ์ภาครัฐ และมาตรฐาน

                  ที่เกี่ยวข้องกับการเคารพสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชนเป็นเรื่องใหม่ และมีองค์ความรู้ต่างๆ
                  เช่น มาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง อาทิ ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ (CSR) จึงจำาเป็น

                  ต้องมีการพัฒนาในด้านนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะในการจัดทำาข้อเสนอแนะ
                  ไปยังภาครัฐ รวมถึงการเริ่มให้ข้อเสนอแนะไปยังภาคเอกชนให้มีความชัดเจนขึ้น
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43