Page 43 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 43
รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 43
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
การดำาเนินการในประเด็นธุรกิจ และ
สิทธิมนุษยชนของ กสม. 3 ประเทศหลัก
4.2
4.2.1 เดนมาร์ก
สถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์ก (Denmark Institute of Human Rights - DIHR) ก่อตั้ง
ในปี พ.ศ. 2526 ภายใต้ชื่อ Danish Centre for Human Rights ก่อนที่จะมีการปรับปรุงสถานะของ
องค์กรที่แยกออกมาเป็นอิสระในปัจจุบัน ตามพระราชบัญญัติสถาบันระดับชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
พ.ศ. 2555 (Denmark’s National Human Rights Institution Act no. 553/2012) มีผลบังคับใช้
เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2556
รูปแบบของสถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์กใช้รูปแบบสถาบันสิทธิมนุษยชน (Human Rights
Institute) ซึ่งเป็นรูปแบบขององค์กรที่อยู่ในรัฐที่มีหน่วยงานเฝ้าระวังที่ดีพอประมาณระดับหนึ่ง
และมีวัฒนธรรมการเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน โดยไม่ได้ทำาหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน
แต่มุ่งเน้นไปที่การให้ความรู้ เผยแพร่ข้อมูล งานวิจัย นอกจากนี้ โครงสร้างการทำางานของสถาบัน
สิทธิมนุษยชนสะท้อนให้เห็นถึงภารกิจหลัก คือ การดำาเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ
ภายใต้คำาแนะนำาของกรรมการบริหาร (Beeman, 2007)
สถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์กเป็นองค์กรที่ดำาเนินงานเป็นอิสระจากรัฐ ได้รับการ
สนับสนุนเงินงบประมาณจากรัฐ มีภารกิจหลัก คือ การส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน
และการขจัดการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ สีผิว เพศ และอุปสรรคทางร่างกาย
ทั้งที่เกิดภายในเดนมาร์กและระดับระหว่างประเทศ
กรรมการเป็นผู้กำาหนดนโยบายและทิศทางในการปฏิบัติการของสถาบัน ประกอบด้วย
ตัวแทนจากมหาวิทยาลัย สภาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สภาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งกรีนแลนด์
และตัวแทนจากกลุ่มลูกจ้าง โดยมีสำานักงานเป็นฝ่ายอำานวยการและปฏิบัติการ การปฏิบัติงาน
ของสถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์กเน้นการทำางานเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายและปฏิบัติการร่วมกับ
หน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะองค์กรผู้ใช้อำานาจบริหาร คือ กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และองค์กร
ผู้ใช้อำานาจตุลาการ ตลอดจนทำางานร่วมกับสภาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นพื้นที่ขององค์กรเอกชน