Page 41 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 41

รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  41
                                                                           ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน









                        2.     รูปแบบคณะกรรมการที่ปรึกษา



                                    รัฐบาลที่ใช้รูปแบบ “คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านสิทธิมนุษยชน” ให้ความสำาคัญ
                             กับบทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติในฐานะ “ข้อต่อ” สำาคัญ บทบาทหลัก

                             ของคณะกรรมการในรูปแบบนี้ คือ การเป็น “สะพาน” เชื่อมระหว่างภาคประชาสังคม
                             กับภาครัฐ  ประเทศแรกๆ ที่ใช้รูปแบบนี้ คือ ฝรั่งเศส ซึ่งแต่งตั้งคณะกรรมการปรึกษา

                             หารือด้านสิทธิมนุษยชนแห่งฝรั่งเศส (National Consultative Commission of
                             Human Rights of France) ขึ้นในปี ค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2527) ด้วยเหตุนี้รูปแบบดังกล่าว

                             จึงมักถูกเรียกว่า “แบบฝรั่งเศส”
                                    ปกติประเทศที่ใช้รูปแบบนี้จะเน้นงานให้คำาปรึกษาหารือเป็นหลัก มิได้มีอำานาจ

                             กึ่งตุลาการ (การสืบสวนสอบสวน) และการเฝ้าระวังดังในรูปแบบ กสม. คณะกรรมการ
                             ที่ปรึกษาเน้นการให้คำาปรึกษาแก่หน่วยงานภาครัฐ และจัดทำารายงานการศึกษาใน

                             ประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน  จุดเน้นของรูปแบบนี้จึงอยู่ที่การ “สนับสนุน”
                             ภารกิจของรัฐในการศึกษาวิจัยและสร้างความตระหนัก แทนที่การใช้อำานาจกึ่งตุลาการ

                             ดังรูปแบบ กสม.
                                    จุดร่วมระหว่างรูปแบบ กสม. กับรูปแบบที่ปรึกษา อยู่ที่โครงสร้างคณะกรรมการ

                             – ทั้งสองรูปแบบเน้นการมีตัวแทนจากหลากหลายสาขา ตั้งแต่เจ้าหน้าที่รัฐ องค์การเอกชน
                             (NGOs) นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ

                                    ตัวอย่างของประเทศที่ใช้รูปแบบดังกล่าว ได้แก่ ฝรั่งเศส และโมร็อกโก





                        3.     รูปแบบผู้ตรวจการ




                                    “ผู้ตรวจการด้านสิทธิมนุษยชน” (Human Rights Ombudsman) หมายถึง
                             หน่วยงานผู้ตรวจการที่ผสมผสานองค์ประกอบระหว่างงานของผู้ตรวจการแผ่นดินทั่วไป

                             กับรูปแบบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                    ผู้ตรวจการแผ่นดินปกติมีหน้าที่เฝ้าระวังการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ

                             เพื่อสร้างหลักประกันว่า รัฐจะใช้อำานาจโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม ปกติ
                             ผู้ตรวจการจะเป็นคนหนึ่งคนที่ได้รับแต่งตั้งจากสภานิติบัญญัติ มีอำานาจในการสืบสวน

                             สอบสวนกิจกรรมของฝ่ายบริหารและหน่วยงานราชการ  ไม่มีอำานาจสอบสวนการทำางาน
                             ของฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46