Page 33 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 33
รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 33
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
บทบาทตามกฎหมาย และ
พันธกรณีระหว่างประเทศ
3.2
3.2.1 พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำาหนดอำานาจหน้าที่
ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้ โดยบัญญัติเรื่องการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ไว้ในหมวด ๓ ซึ่งกำาหนดวิธีการรับเรื่องราวร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อนำาไปสู่การ
ตรวจสอบข้อร้องเรียนดังกล่าวของคณะกรรมการไว้ ตลอดจนกำาหนดกระบวนการตรวจสอบ
การละเมิดสิทธิ ทั้งกรอบระยะเวลาการตรวจสอบ วิธีการแจ้งผลการตรวจสอบต่อผู้ร้องเรียน
สภาพบังคับ และการดำาเนินการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมีอำานาจให้ตั้งคณะกรรมการ
หรืออนุกรรมการดำาเนินการดังกล่าว
จากที่กล่าวมาข้างต้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงได้กำาหนดให้มีระเบียบ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิด
สิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2558 ขึ้น เพื่อกำาหนดวิธีการ ขั้นตอน ขอบเขตอำานาจของคณะกรรมการหรือ
อนุกรรมการ ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการดำาเนินการให้เป็นไปตาม
ผลของการตรวจสอบ ทั้งที่เป็นกรณีที่พบว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือเป็นการปฏิบัติที่
ไม่เป็นธรรม หรือเป็นกรณีที่สมควรได้รับการแก้ไขปัญหาเชิงนโยบาย เพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติ
ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
เมื่อพิเคราะห์ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2542 ในสาระสำาคัญ
เห็นว่า มูลเหตุที่บุคคลหรือองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนที่ทำาให้ผู้มีสิทธิยื่นคำาร้องต่อ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำาหนดไว้มีด้วยกัน 2 ประการ
กล่าวคือ การละเมิดสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเกิดจากการปฏิบัติจากองค์กร
หรือหน่วยงานที่ใช้อำานาจรัฐเป็นสำาคัญ