Page 34 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 34
34 รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
3.2.2 พันธกรณีระหว่างประเทศ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทยประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กร ซึ่งเป็นกฎหมายภายในประเทศ
เพื่อให้สอดรับกับข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่รัฐไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม
ทั้งในระดับสากลและระดับภูมิภาค
รัฐบาลไทยเป็น 1 ใน 48 รัฐแรกของโลกที่ลงคะแนนเสียงร่วมรับรองปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ณ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ สมัยที่ 3 เมื่อวันที่
10 ธันวาคม 2491 อันเป็นจุดเริ่มต้นของรัฐบาลไทยที่รับหลักการระหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน และรัฐบาลไทยได้รับรองหลักการระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่อเนื่อง
เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นไปตามพัฒนาการแห่งสิทธิมนุษยชน ซึ่งรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ
ได้ให้การยอมรับในหลักการและรับรองตราสารระหว่างประเทศดังกล่าวนั่นเอง
ปัจจุบันรัฐบาลไทย เป็นภาคีสมาชิกสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนหลักด้วยกันทั้งสิ้น
7 ฉบับ คือ
1. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child – CRC)
2. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on
the Elimination of All Forms of Discrimination Against Woman - CEDAW)
3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International
Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR)
4. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International
Covenant on Economic, Social and Cultural Rights - ICESCR)
5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention
on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination - CERD)
6. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
่
หรือที่ยำายีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman
or Degrading Treatment or Punishment - CAT)
7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with
Disabilities - CRPD)