Page 36 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 36
รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
36 36 โครงการวิจัยบทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครอง
การละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของสำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ (สำานักงาน กสม.) เกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ที่เกิดจากภาคธุรกิจ พบว่า ขั้นตอนของการพิจารณาเรื่องดังกล่าว เริ่มจากกรณี
ที่มีบุคคลหรือองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนยื่นเรื่องร้องเรียนต่อ กสม. หรือเป็น
กรณีที่ กสม. เห็นสมควรให้มีการตรวจสอบ (หยิบยก) โดย สำานักงาน กสม.
จะทำาหน้าที่ในการกลั่นกรองข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติการณ์ตามคำาร้องว่า
มีมูลอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอยู่ในอำานาจหน้าที่ของ กสม. หรือไม่
และทำาความเห็นเสนอ กสม. เพื่อมีมติมอบหมายให้คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง
โดยคณะอนุกรรมการมีหน้าที่ในการกำาหนดประเด็นการตรวจสอบ และสืบสวน
สอบสวนแสวงหาข้อเท็จจริงจากผู้ร้อง (ในกรณีที่มีการร้องเรียน) ผู้ถูกร้องหรือ
ผู้ถูกกล่าวหา และบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากนั้น คณะอนุกรรมการจะ
จัดทำารายงานผลการตรวจสอบพร้อมความเห็นเสนอ กสม. เพื่อพิจารณาให้
ความเห็นชอบ โดยหากเป็นกรณีที่การตรวจสอบพบว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
เกิดขึ้น กสม. จะส่งรายงานผลการตรวจสอบพร้อมกำาหนดมาตรการการแก้ไข
ปัญหาไปยังบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิด
สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น และสำานักงาน กสม. จะทำาหน้าที่ในการติดตามผล
การดำาเนินการของบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว ว่าได้ดำาเนินการแก้ไขตาม
รายงานผลการตรวจสอบของ กสม.หรือไม่
ในการดำาเนินการกับภาคเอกชนที่ผ่านมา กสม. ยังไม่เคยมีการจัดทำา
ข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาไปยังหน่วยงานเอกชนแต่อย่างใด แต่จะเป็นไปใน
รูปแบบของการขอความร่วมมือเพื่อให้ชี้แจงข้อเท็จจริง หรือเชิญบุคคล หรือ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยมากกว่า ทั้งนี้ กสม. ได้เคย
ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีที่บริษัทไทยถูกร้องเรียนว่า กระทำาหรือละเลย
การกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จากกรณีบริษัทธุรกิจของไทยเข้าไป
ดำาเนินธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งถือเป็นกรณีแรกที่ กสม. รับเรื่องร้องเรียน
กรณีที่ผู้เสียหายและพื้นที่เกิดเหตุมิได้อยู่ในประเทศไทย โดยที่ กสม. ได้มี
การอ้างอิงหลักปฏิบัติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ
เพื่อประกอบการพิจารณากรณีดังกล่าวด้วย