Page 42 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 42

42          รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                   ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน







                                การใช้รูปแบบผู้ตรวจการกับประเด็นสิทธิมนุษยชนเริ่มแพร่หลายในทศวรรษ 1980
                         และ 1990  ในทวีปอเมริกาใต้ ยุโรปกลาง และยุโรปตะวันออก หลายประเทศนำารูปแบบนี้
                         มาปรับใช้แบบ “ลูกผสม”  กล่าวคือ มอบอำานาจให้ผู้ตรวจการไม่เพียงแต่เฝ้าระวัง

                         ความชอบทางกฎหมายและความเป็นธรรมของหน่วยงานรัฐอย่างเดียว  แต่ยังมีหน้าที่

                         ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  โดยมีอำานาจสืบสวนสอบสวนและเฝ้าติดตาม
                         การทำาตามกฎระเบียบและสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ในบางประเทศ ผู้ตรวจการ
                         ด้านสิทธิมนุษยชนยังมีอำานาจส่งข้อเสนอแนะและคำาแนะนำาเชิงนโยบายไปยังรัฐบาล

                         ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน  โดยมากประเทศที่ใช้รูปแบบนี้มักจะกำาหนด

                         ภารกิจ (mandate) ที่ชัดเจนสำาหรับผู้ตรวจการ อาทิ การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
                         การเลือกปฏิบัติทางเพศ สิทธิเด็ก เป็นต้น
                                รูปแบบนี้แตกต่างจากรูปแบบคณะกรรมการอย่างมีนัยสำาคัญตรงที่มีบุคคลเดียว

                         เป็นผู้ปฏิบัติการ  มิได้มีตัวแทนที่หลากหลายจากทุกภาคส่วนมาประกอบกันเป็น

                         คณะกรรมการ และเหตุนี้จึงไม่เข้าข่ายโครงสร้างพหุนิยมที่ชุดหลักการปารีสสนับสนุน
                                ประเทศที่ใช้รูปแบบผู้ตรวจการ อาทิ นอร์เวย์ และสวีเดน







                     4.     รูปแบบสถาบันสิทธิมนุษยชน


                                รูปแบบสถาบันสิทธิมนุษยชน (Human Rights Institute)  ส่วนใหญ่ใช้ในประเทศ

                         ซึ่งมีหน่วยงานที่ทำาหน้าที่เฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว  อย่างเช่น ผู้ตรวจการ
                         (Ombudsman) เฉพาะด้าน และมีวัฒนธรรมการเคารพสิทธิมนุษยชนที่ค่อนข้างดี

                         สถาบันเหล่านี้เน้นการให้การศึกษาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ตลอดจนทำาการ
                         ค้นคว้าวิจัยและเก็บบันทึกสถิติอย่างเป็นระบบ แทนที่การสืบสวนสอบสวนหรือเฝ้าติดตาม

                         การทำาตามกฎกติกาของภาครัฐ  โครงสร้างของสถาบันสิทธิมนุษยชนสะท้อนหน้าที่หลัก
                         ขององค์กร กล่าวคือ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ ทำางานภายใต้คณะกรรมการ

                                ตัวอย่างประเทศที่ใช้รูปแบบนี้ ได้แก่ เดนมาร์ก และเยอรมนี
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47