Page 32 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 32

32          รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                   ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน





                                 2) การเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบตาม

                                    ที่มีผู้ร้องเรียนเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่า มีกฎ คำาสั่ง
                                    หรือการกระทำาอื่นใดในทางปกครองที่ก่อให้เกิดปัญหาและกระทบต่อ

                                    สิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายในระดับ
                                    พระราชบัญญัติ หรือกฎหมายที่มีค่าบังคับเทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ

                                 3) การฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย  เมื่อผู้เสียหายร้องขอต่อ

                                    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และเป็นกรณีที่คณะกรรมการ
                                    สิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้น เห็นสมควรให้มีการฟ้องคดีเพื่อแก้ไขปัญหา

                                    การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยมุ่งประสงค์ผลโดยส่วนรวม



                         ผลของการจัดรูปองค์กรของรัฐดังกล่าว ทำาให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็น
                  องค์กรของรัฐในรูปคณะกรรมการที่มีสถานะชัดเจนขึ้นกว่าที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่ง
                  ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 200 เมื่อพิเคราะห์ถึงสาระสำาคัญประกอบกัน

                  ทั้งหมด  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงเป็นองค์กรของรัฐที่ทำาหน้าที่พิทักษ์

                  สิทธิมนุษยชนตามที่กฎหมายในระดับพระราชบัญญัติให้อำานาจไว้ ระดับของการปฏิบัติการ
                  จึงอยู่ในฐานะขององค์กรซึ่งให้คำาปรึกษาต่อองค์กรผู้ใช้อำานาจบริหาร นั่นคือ คณะรัฐมนตรี ในการ
                  ให้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่อการพิทักษ์และคุ้มครอง ตลอดจนส่งเสริมสิทธิมนุษยชน

                  ผ่านไปยังองค์กรผู้ใช้อำานาจฝ่ายปกครองซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงานของคณะรัฐมนตรี มีสิทธิ

                  ในการเสนอแนะต่อองค์กรผู้ใช้อำานาจฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ในการตรากฎหมาย  ตลอดจน
                  ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายให้มีสภาพที่เหมาะสม และสอดคล้องกับการคุ้มครองและส่งเสริม
                  ด้านสิทธิมนุษยชนโดยรัฐ และมีบทบาทหน้าที่ในการดำาเนินการเสนอคดีหรือฟ้องร้องต่อองค์กร

                  ผู้ใช้อำานาจตุลาการ ผ่านศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลยุติธรรม ในฐานะผู้เสนอประเด็น

                  วินิจฉัยต่อศาลในประเด็นข้อกฎหมาย ตลอดจนกฎและคำาสั่ง รวมถึงการฟ้องคดีแทนผู้เสียหาย
                  ในศาลยุติธรรม
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37