Page 31 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 31

รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  31
                                                                           ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน





                             คณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีจำานวนเจ็ดคน ประกอบด้วย

                             ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธาน
                             สภาผู้แทนราษฎร ผู้นำาฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา

                             คัดเลือกจำานวนหนึ่งคน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
                             คัดเลือกจำานวนหนึ่งคน ทำาหน้าที่สรรหาและคัดเลือก กสม. จำานวนเจ็ดคนด้วยมติ

                             ที่มีการลงคะแนนโดยเปิดเผย และมีคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของจำานวน
                             กรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ แล้วเสนอรายชื่อผู้ได้รับเลือกพร้อมความยินยอมของ

                             ผู้นั้นต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง
                             ข้างมากโดยวิธีลงคะแนนลับ ซึ่งเปลี่ยนแปลงสาระสำาคัญที่แตกต่างจากกระบวนการ

                             สรรหาเดิม ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540  ในส่วนของ
                             ขั้นตอนของคณะกรรมการสรรหา คือ องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา วิธีการ

                             สรรหาและคัดเลือก รวมทั้งจำานวนผู้ได้รับเลือกเพื่อเสนอชื่อให้วุฒิสภา  และใน
                             ขั้นตอนของวุฒิสภาจากเดิมที่ต้องมีมติเพื่อคัดเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อจากจำานวน

                             ยี่สิบสองคนให้เหลือสิบเอ็ดคน เป็น มีมติให้ความเห็นชอบผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจาก
                             คณะกรรมการสรรหาจำานวนเจ็ดคน



                         4.     การพ้นจากตำาแหน่ง


                                    ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำาหนดให้กรรมการ

                             พ้นจากตำาแหน่งเมื่อมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ เพิ่มเติมจากเหตุอื่นตามที่พระราชบัญญัติ
                             คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 บัญญัติไว้






                         5.     อำานาจหน้าที่


                                    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำาหนดให้คณะกรรมการ

                             สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำานาจหน้าที่เพิ่มเติมจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                             พุทธศักราช 2540 โดยเฉพาะกับองค์กรผู้ใช้อำานาจตุลาการด้วยกัน ดังนี้

                                    1) การเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่เห็นชอบตาม

                                       ที่มีผู้ร้องเรียนเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่า มีบทบัญญัติ
                                       แห่งกฎหมายใดที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชน และมีปัญหาความชอบด้วย
                                       รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายที่มี

                                       ค่าบังคับเทียบเท่ากับพระราชบัญญัติซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36