Page 30 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 30

30          รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                   ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน





                         หลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่

                  24 สิงหาคม 2550 ได้มีการเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
                  แห่งชาติ  โดยมาตรา 256 และมาตรา 257 ซึ่งมีสาระสำาคัญแตกต่างจากรัฐธรรมนูญแห่ง

                  ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ในประการสำาคัญด้วยกัน 5 ประการ ได้แก่



                            สถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตาม
                     1.
                            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2550


                                 เนื่องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้จัดรูปองค์กรของรัฐ
                         กล่าวเฉพาะส่วนขององค์กรตามรัฐธรรมนูญได้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

                                 1) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายถึง องค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ
                                    ประกอบรัฐธรรมนูญ มีด้วยกันทั้งสิ้น 4 องค์กร ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง

                                    ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
                                    และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

                                 2) องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายถึง องค์กรที่รัฐธรรมนูญกำาหนดให้จัดตั้งขึ้น

                                    และมีพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรเป็นการเฉพาะ ประกอบด้วย องค์กรอัยการ
                                    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม

                                    แห่งชาติ



                     2.     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ



                                 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                         พุทธศักราช 2550 ได้กำาหนดให้มีกรรมการทั้งสิ้น 7 คน ดำารงตำาแหน่งประธานกรรมการ 1 คน
                         และกรรมการอื่นอีก 6 คน ซึ่งลดลงจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตาม
                         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540  ซึ่งแต่เดิมกำาหนดให้มีกรรมการทั้งสิ้น

                         11 คน โดยยังคงให้มีสำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งมีเลขาธิการ

                         คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นผู้บริหารสูงสุดของสำานักงาน ปฏิบัติหน้าที่เป็นฝ่าย
                         อำานวยการและเป็นเลขานุการเพื่อสนับสนุนการทำางานของคณะกรรมการคงเดิม




                     3.     กระบวนการสรรหาและเลือกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


                                 วิธีการได้มาซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญแห่ง

                         ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำาหนดวิธีการสรรหาไว้ ด้วยการกำาหนดให้มี
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35