Page 29 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 29
รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 29
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
บทบาทตามรัฐธรรมนูญไทย
3.1
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
เป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐฉบับแรกที่ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้น โดยบัญญัติหลักการไว้ในหมวด 6 รัฐสภา
ส่วนที่ 8 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดย มาตรา 200 บัญญัติ
ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำานาจหน้าที่ในการตรวจสอบและรายงานการกระทำา
หรือละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคล
หรือหน่วยงานที่กระทำาหรือละเลยการกระทำาดังกล่าวเพื่อให้ดำาเนินการแก้ไข หากไม่มีการ
ดำาเนินการแก้ไข คณะกรรมการต้องรายงานต่อรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาดำาเนินการต่อไป
นอกจากคณะกรรมการจะมีอำานาจในการตรวจสอบและรายงานการกระทำาดังกล่าวแล้ว
ยังมีอำานาจหน้าที่ในการเสนอแนะนโยบาย และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ
ต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้วย จึงได้มีการตรา
พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ขึ้น เพื่อจัดให้มีคณะกรรมการ
และหน่วยงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
รูปแบบองค์กรจึงเป็นองค์กรอิสระในรูปของคณะกรรมการ ทำาหน้าที่เป็นหน่วยงาน
ให้คำาปรึกษาด้านสิทธิมนุษยชนต่อรัฐสภา เพื่อปฏิบัติการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
ผ่านวิธีการตามที่กำาหนดในพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542