Page 72 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 72
ผังเมืองกับก�รคุ้มครองสิทธิชุมชน
และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
ข้อเท็จจริงโดยสรุป
กรณีคัดค้านการก่อสร้างต่อเติมไซโลปูนของบริษัท พ. บริเวณหน้าสถานีรถไฟ นาสาร ตำาบลนาสาร
อำาเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ของราษฎรตำาบลนาสาร
บริษัทได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2538 ซึ่งการประกอบกิจการ
ของบริษัทได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและอนามัยของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงจนก่อ
ให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด วัณโรค โรคปอด
อุดกั้นเรื้อรัง เป็นต้น เนื่องจากสถานที่ตั้งของไซโลปูนอยู่กลางชุมชนแออัดและเป็นเขตติดต่อกับโรงเรียน
วัด สถานีรถไฟ สนามเด็กเล่น ศาลาอเนกประสงค์ของชุมชน ตลาดและไนท์พลาซ่า ซึ่งคนในพื้นที่ได้มีการ
ร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาเหตุเดือดร้อนรำาคาญจากฝุ่นผงปูนเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 แต่ปัญหาก็ยัง
ไม่ได้รับการเยียวยา บริษัทก็ยังคงประกอบกิจการและยังได้มีการยื่นขอต่อเติมและขยายไซโลปูนในช่วง
ปลายปี 2551 ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2552 มีประชาชนจำานวน 7,380 คน ยื่นหนังสือถึงผู้มีหน้าที่ดูแล
พื้นที่ทั้งในระดับประเทศและในระดับท้องถิ่น
ประเด็นปัญห�ผังเมือง
การใช้สิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย กล่าวคือ เทศบาลเมืองนาสาร ในการยื่นคำาร้องขอแก้ไขหรือ
เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อกำาหนดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินผังเมืองรวมเมืองนาสาร โดยได้ยื่นคำาร้อง
ภายใน 90 วัน ตามที่กฎหมายกำาหนด (ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2552 ถึงวันที่ 27 มกราคม 2553) ขอให้
กรมโยธาธิการและผังเมืองแก้ไขส่วนของการกำาหนดสีที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่มีการกำาหนด
เป็นสีขาว (พื้นที่นอกเหนือการควบคุมของผังเมืองรวม กฎหมายผังเมืองบังคับใช้ไม่ได้ อันเป็นช่องว่าง
ของกฎหมาย) เนื่องจากการกำาหนดดังกล่าวทำาให้บริษัท พ. สามารถมาเช่าที่ดินของการรถไฟ
แห่งประเทศไทยประกอบกิจการโรงงาน เนื่องจากตามข้อกำาหนดผังเมืองไม่ได้ห้ามไว้ จึงขอให้แก้ไข
สีผังเมืองดังกล่าวเป็นสีนำ้าเงิน (ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค สาธารณูปการ)
แต่ปรากฏว่าที่ประชุมคณะอนุกรรมการผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
มีมติไม่ให้เปลี่ยนแปลงสีโดยให้เหตุผลว่าเพื่อความสะดวกในการจัดการพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
โดยมิได้คำานึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนแต่อย่างใด (กรกฎาคม 2553)
คว�มเห็นของหน่วยง�นที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นปัญห�ผังเมือง
เทศบ�ลเมืองน�ส�ร
เทศบาลฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากราษฎรมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งทางเทศบาลฯ ได้พยายาม
หาแนวทางแก้ไข แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
71