Page 47 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 47
l เวียดน�ม
ประเทศเวียดนามหรือสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม มี
ประชากรประมาณ ๙๑ ล้านคน ประชากรร้อยละ ๘๐ ถือว่าตนเองไม่มีศาสนา ที่เหลือนั้นนับถือ
ลัทธิขงจื๊อ เต๋า พุทธมหายาน โรมันคาทอลิก โปรเตสเเตนต์ และอื่นๆ โดยมีประชากรในวัย ๐ - ๑๔
ปีประมาณร้อยละ ๒๕.๒ และวัย ๑๕ - ๖๔ ประมาณร้อยละ ๖๙.๓ (CIA World Factbook:
Vietnam, 2011) ซึ่งลัทธิขงจื๊อมีอิทธิพลต่อระบบความคิด ความเชื่อ และรากเหง้าทางสังคมและ
วัฒนธรรม รวมถึงกฎหมายของประเทศเวียดนาม อย่างไรก็ตามเวียดนามเป็นประเทศแรกในเอเชีย
และเป็นประเทศที่ ๒ ในโลก ที่ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ [Convention
on the Rights of the Child หรือ CRC (UNICEF, 2010)] และเป็นประเทศหนึ่งในเอเชียที่มี
ความก้าวหน้าเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ รัฐธรรมนูญของเวียดนามบัญญัติไว้ว่า “ผู้ชาย
และผู้หญิงมีสิทธิที่เท่าเทียมกันในทุกด้านและทุกสภาวะแวดล้อม เช่น ด้านอนามัยเจริญพันธุ์”
“รัฐ สังคม ครอบครัว และประชาชนต้องรับผิดชอบในการให้บริการด้านสุขภาพ และปกป้องมารดา
และเด็ก และแผนการวางแผนครอบครัวและประชากร” ในปี ๑๙๖๐ สภาแห่งชาติเวียดนามมีมติ
เห็นชอบออกกฎหมายการสมรสและครอบครัว (Marriage and Family Law) ซึ่งมาจากหลักปฏิบัติ
๔ ประการ ได้แก่ การสมรสโดยเสรี การมีคู่สมรสคนเดียว ความเท่าเทียมกันทางเพศ และการปกป้อง
สิทธิของผู้หญิงและเด็ก
ปี ๑๙๘๙ มีการออกกฎหมายคุ้มครองสุขภาพของประชาชน (Law on Protection of
People’s Health) ได้รับรองสิทธิของประชาชนในการเลือกวิธีการคุมก�าเนิด นอกจากนี้
กฎหมายยังระบุไว้ในมาตรา ๔๔ ว่า “ผู้หญิงมีสิทธิในก�รทำ�แท้ง; ก�รได้รับก�รรักษ�และก�ร
วินิจฉัยโรค และก�รตรวจสุขภ�พระหว่�งก�รตั้งครรภ์; และก�รบริก�รท�งก�รแพทย์เวล�ที่
คลอดบุตรที่สถ�นพย�บ�ล”
นอกจากนี้ประเทศเวียดนามมีแผนยุทธศาสตร์ด้านประชากรแห่งชาติ โดยอนามัยเจริญพันธุ์
เป็นหนึ่งในการแก้ปัญหาหลักของแผนยุทธศาสตร์ด้านประชากรแห่งชาติ ปี ๒๐๐๑ – ๒๐๑๐
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะยกระดับคุณภาพการให้บริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์และการวางแผน
ครอบครัวในรูปแบบและเนื้อหาที่เหมาะสมในกรอบแนวคิดของการให้บริการด้านสุขภาพขั้นปฐมภูมิ
ที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์และการวางแผนครอบครัว
46 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน