Page 50 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 50

ของสมาชิก และพ่อแม่ผู้ปกครองมีอ�านาจเบ็ดเสร็จเหนือบุตรของตน (Zhang, H.X., & Locke, C.

                  2002) ตามความคิดความเชื่อของลัทธิขงจื๊อ ซึ่งให้ความส�าคัญกับลูกชายมากกว่าลูกสาว


                        l  Law on Protection of People’s Health



                        กฎหมายมีบทบัญญัติเรื่องสิทธิในการดูแลและป้องกันสุขภาพ (Rights to Health Care and

                  Health Protection) เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวมาตั้งแต่ปี ๑๙๘๙ ในหมวดที่ ๘ การวางแผน

                  ครอบครัวและสุขภาพของมารดาและบุตร มาตรา ๔๓ ระบุไว้ดังนี้



                                “บุคคลมีหน้าที่ที่จะต้องมีการวางแผนครอบครัว มีสิทธิที่จะเลือกใช้วิธีการคุมก�าเนิด

                            ได้ด้วยตนเอง แต่ละคู่ควรจะมีบุตรหนึ่งหรือสองคน โดยที่รัฐจะใช้นโยบายและมาตรการ

                            ที่จูงใจ และสร้างสภาพแวดล้อมที่จ�าเป็นส�าหรับทุกคน การบริการด้านวัฒนธรรมและการ

                            ศึกษาด้านสาธารณสุข สื่อมวลชน และองค์กรด้านสังคมมีหน้าที่ที่จะต้องเผยแพร่

                            และให้ความรู้แก่ประชาชนและโปรแกรมการวางแผนครอบครัวส�าหรับประชาชน”



                        และอนุญาตให้มีการท�าแท้งและการปรับประจ�าเดือนได้ โดยในมาตรา ๔๔ ระบุถึงสิทธิของ

                  ผู้หญิงในการตรวจภายในและการรักษา การท�าแท้ง และการปรับประจ�าเดือน อย่างไรก็ตาม Hoang

                  Ba Thinh (2009) ระบุว่า  การท�าแท้งและการปรับประจ�าเดือนไม่ได้เป็นวิธีหนึ่งในการวางแผน

                  ครอบครัว แต่เป็นบริการด้านสาธารณสุขเพื่อยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ และเป็นความล้มเหลว

                  ของการคุมก�าเนิด สังคมยังมีอคติต่อการท�าแท้งของผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน น�าไปสู่การชะลอ

                  การท�าแท้งและการเลือกที่จะไปท�าแท้งที่คลินิกเอกชนเพื่อรักษาความลับ เหตุผลนี้เองท�าให้เกิด

                  ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้หญิง แม้ว่านโยบายด้านการวางแผนประชากร

                  หัวข้อ C มาตรา ๑๓ บัญญัติไว้ว่า “ผู้หญิงอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไปจะได้รับวิธีการคุมก�าเนิด รวมถึง

                  บุคคลที่ยังไม่ได้แต่งงานอย่างเป็นทางการด้วย” (NCPFP-UNFPA, 1996: 513) และกฎหมาย

                  การป้องกันด้านสุขภาพจะอนุญาตให้บุคคลมีสิทธิที่จะเลือกใช้วิธีคุมก�าเนิดได้ด้วยตนเอง แต่

                  จากการส�ารวจพบว่า อัตราการท�าแท้งในหมู่วัยรุ่นและเยาวชนหญิงมีอัตราที่สูง ประมาณร้อยละ

                  ๒๐ - ๓๐ ของจ�านวนการท�าแท้งของประเทศเวียดนามในแต่ละปี (Vy and Hoa, 2007: 28)












                                                   ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ //  49
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55